วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
พลังงาน
พลังงาน มาจากคำว่า พลัง และ งาน หมายถึง พลังต่างๆ ที่นำมาใช้ให้เกิดเป็นงานตามพระราชบัญญัติการพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน พ.ศ.2535 พลังงาน หมายถึง ความสามารถในการทำงานซึ่งมีอยู่ในตัวของสิ่งของที่อาจให้งาน ได้แก่ พลังงานหมุนเวียน และพลังงานสิ้นเปลือง ความสามารถของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะทำงานได้งาน เป็นผลของการกระทำของแรงเป็นเหตุให้สิ่งนั้นเคลื่อนที่ เช่น เปลวไฟที่เผากาน้ำจะเปลี่ยนน้ำ ให้เป็นไอน้ำและแรงดันไอน้ำจะดันฝากาน้ำขึ้นได้ งานเช่นนี้เรียกว่า พลังงานและพลังงานยังรวมถึงการผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นการประหยัด ค่าใช้จ่ายในกิจการแล้ว ยังจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจาก แหล่งที่ใช้และผลิตพลังงาน
การอนุรักษ์พลังงานด้านการอุตสาหกรรม พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ได้กำหนดไว้ก็คือ โรงงานควบคุมและอาคารควบคุมโดยที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้มีมาตรการผลักดัน แนะนำ ส่งเสริม กระตุ้นเพื่อให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานอย่างเป็นระบบโดยรัฐบาลได้ให้การสนับสนุนทางเทคนิคและวิชาการทางเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งให้การสนับสนุนทางด้านการเงินในการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายจะต้องจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน เช่น บุคลากร ข้อมูล แผนงาน เป็นต้น เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์พลังงาน โดยกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานนี้ยังเป็นกรอบและแนวทางปฏิบัติในการปรับปรุงคุณภาพของพลังงานให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานฉบับนี้ยังได้ระบุให้เจ้าของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประจำโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมซึ่งมีคุณสมบัติตามที่พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ได้กำหนดไว้เป็นผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน และให้ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1.บำรุงรักษาและตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานเป็นระยะๆ
2.ปรับปรุงวิธีการใช้พลังงานให้เป็นไปตามหลักการอนุรักษ์พลังงาน
3.รับรองข้อมูลที่ส่งให้แก่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
4.ควบคุมดูแลการบันทึกข้อมูลการใช้พลังงาน การติดตั้งเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มีผลต่อการใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้และรับรองความถูกต้องของการบันทึกดังกล่าว
5.ช่วยเจ้าของโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมกำหนดเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานเพื่อส่งให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง
6.รับรองผลการตรวจสอบหรือวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานของโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง
7.ช่วยเจ้าของโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมปฏิบัติตามคำแนะนำของอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
กฎของธรรมชาติ
สิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้จะต้องอาศัยธาตุต่างๆ มาประกอบกันโดยมีพลังงานก่อให้เกิดการเคลื่อนไหว หรือปฏิกิริยาต่างๆ ขึ้น การที่เราสามารถเคลื่อนไหวแขน ขา หรือส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ ก็เพราะอาศัยร่างกาย
ได้รับจากอาหาร และร่างกายสามารถเจริญเติบโตได้ ก็เพราะธาตุอาหารที่ต้องการจากอาหาร น้ำ และอากาศ
สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านนี้ล้วนต้องอยู่ภายใต้กฎของธรรมชาติ ดังนี้
1.พลังงานได้จากธรรมชาติเท่านั้น
ดวงอาทิตย์เป็นต้นกำเนิดพลังงานที่สำคัญที่สุดของพลังงานที่ใช้กันอยู่ในโลก ไม่ว่าจะเป็นพลังงานในอาหาร น้ำมัน ถ่านหิน ล้วนเป็นพลังงานที่มีต้นกำเนิดมาจากพลังงานของดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น มนุษย์ไม่สามารถสร้างพลังงานขึ้นมาเองได้ แต่มนุษย์สามารถเปลี่ยนแปลงพลังงานจากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่งได้ เช่นเปลี่ยนพลังงาน น้ำมันให้เป็นพลังงานที่ทำให้รถแล่นไปได้ แต่น้ำมันหมด รถก็ไม่่สามารถแล่นไปได้ เราสามารถเดินไปโรงเรียน
ได้โดยอาศัยพลังงานจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ถ้าร่างกายขาดพลังงานอาหารเราก็ไม่สามารถเดินหรือเคลื่อนไหวได้ ดังนั้น พลังงานที่ร่างกายได้รับหรือพลังงานที่เกิดจากเทคโนโลยี เช่น พลังงานไฟฟ้า พลังงาน นิวเคลียร์ ล้วนเป็นพลังงานที่ได้รับมาจากธรรมชาติทั้งสิ้น
2.สารอาหารได้จากธรรมชาติเท่านั้น
อาหารหรือธาตุอาหารของพืช ของสัตว์หรือของมนุษย์จะได้มาจากธรรมชาติเท่านั้น และพืชเท่านั้นที่เป็นผู้สร้างอาหาร ดังนั้นสัตว์หรือมนุษย์จึงเป็นผู้รับสารอาหารที่พืชเป็นผู้สร้างขึ้นมาและมนุษย์เป็นเพียงผู้เป็นเพียง ผู้นำสารอาหารที่พืช และสัตว์สร้างมาใช้เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ การดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ก็ยังต้องอาศัยพลังงานและธาตุอาหารจากธรรมชาติ อยู่ตลอดไป ดังนั้นธรรมชาติจึงเป็นแหล่งที่ให้ปัจจัยที่สำคัญที่สุดของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และธรรมชาติก็ มีการควบคุมการเปลี่ยนแปลงไปตามระบบของธรรมชาติซึ่งเราเรียกว่า ระบบนิเวศ (Ecosystem) ดวงอาทิตย์เป็นต้นกำเนิดพลังงานที่สำคัญที่สุดของพลังงานที่ใช้กันอยู่ในโลก ไม่ว่าจะเป็นพลังงานในอาหาร น้ำมัน ถ่านหิน ล้วนเป็นพลังงานที่มีต้นกำเนิดมาจากพลังงานของดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น มนุษย์ไม่สามารถสร้างพลังงานขึ้นมาเองได้ แต่มนุษย์สามารถเปลี่ยนแปลงพลังงานจากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่งได้ เช่นเปลี่ยนพลังงานน้ำมันให้เป็นพลังงานที่ทำให้รถแล่นไปได้ แต่น้ำมันหมด รถก็ไม่สามารถแล่นไปได้ เราสามารถเดินไปโรงเรียนได้โดยอาศัยพลังงานจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ถ้าร่างกายขาดพลังงานอาหารเราก็ไม่สามารถเดิน หรือเคลื่อนไหวได้ ดังนั้น พลังงานที่ร่างกายได้รับหรือพลังงานที่เกิดจากเทคโนโลยี เช่น พลังงานไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์ ล้วนเป็นพลังงานที่ได้รับมาจากธรรมชาติทั้งสิ้น
ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงาน สภาพความเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อมส่วนใหญ่ อาจกล่าวได้ว่ามีสาเหตุมาจากการผลิตและการใช้พลังงานของมนุษย์แทบทั้งสิ้น ดังนั้นการเสาะแสวงหาทรัพยากรพลังงานมาเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานที่สูงขึ้นเรื่อยๆจึงควรระมัดระวังและพิจารณาให้รอบคอบก่อนนำมาใช้ นักสิ่งแวดล้อมได้กล่าวถึงผลกระทบจากการใช้ทรัพยากรพลังงาน ดังนี้
1)ทำให้เกิดการเจ็บป่วย ล้มตาย
2)ทำให้สิ่งของและทรัพยากรธรรมชาติเสียหาย
3)ทำลายสภาพแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต
4)เกิดมลภาวะทั้งทางดิน น้ำและอากาศ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากภาคผลิตไฟฟ้า พลังงานที่ใช้กันในแต่ละประเทศคือ พลังงานไฟฟ้า การผลิตพลังงานไฟฟ้ามีกระบวนการผลิตซึ่งใช้เชื้อเพลิงที่สำคัญๆดังนี้
ถ่านหิน เป็นแหล่งพลังงานที่มีมลพิษสูงโดยปล่อยธาตุคาร์บอนต่อหน่วยพลังงานมากกว่าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติปริมาณสูงการใช้ถ่านหินนำมาซึ่งผลกระทบมหาศาลด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพมนุษย์ และ สังคมซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากผลกระทบที่มีต่อชุมชนผู้ยากจนเป็นส่วนมากที่อาศัยอยู่ในและรอบๆ เหมือง และโรงไฟฟ้าถ่านหิน
ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากภาคอุตสาหกรรม การผลิตและการใช้พลังงานในโรงงานก่อให้เกิดมลพิษและของเสียงปลดปล่อยออกมาซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสังคมและชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงกับโรงงานสรุปได้ดังนี้
น้ำทิ้ง ส่วนใหญ่ของการใช้น้ำในกิจการอุตสาหกรรม กว่าร้อยละ 80 เป็นการใช้เพื่อการหล่อเย็น นอกนั้นเป็นการใช้เพื่อกระบวนการผลิตและอื่นๆ น้ำหล่อเย็นควรมีอุณหภูมิต่ำ ความกระด้างต่ำ ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน ส่วนคุณภาพน้ำที่ต้องการสำหรับกระบวนการผลิตจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะพิเศษของแต่ละผลิตภัณฑ์และแต่ละกระบวนการ เช่น เหล็ก แมงกานีส คาร์บอนไดออกไซด์ จะทำความเสียหายให้กับกระบวนการผลิตกระดาษ น้ำที่มีปริมาณคลอรีนสูง เป็นอันตรายต่อการผลิตเหล็กหล่อเป็นต้น
น้ำเสียจากกิจการอุตสาหกรรม (Industrial waste) หากเป็นน้ำหล่อเย็นจะทำให้อุณหภูมิของแหล่งน้ำรองรับสูงขึ้น ทำให้ออกซิเจนละลายในน้ำได้น้อยลง ส่วนน้ำเสียจากกระบวนการผลิตจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภท ขนาดของอุตสาหกรรม น้ำเสียจากกระบวนการอุตสาหกรรมบางประเภทสร้างปัญหารุนแรงมากเช่น อาจปล่อยคราบน้ำมันออกมากับน้ำเสีย มีโลหะหนักปนเปื้อน มีความเป็นกรดสูง เป็นต้น
มลพิษทางอากาศ จากแหล่ง กำเนิดอุตสาหกรรม เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงและกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดผล กระทบต่อคุณภาพอากาศในบรรยากาศและอาจส่งผล กระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน โดยทั่วไปหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมมีอยู่ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ
เชื้อเพลิงที่เป็นของแข็งเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว ได้แก่ น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซล เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว ได้แก่ น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซล เชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซ LPG สารมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ฝุ่นละออง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ซึ่งพบว่ามีปริมาณการระบายออกสู่บรรยากาศเพิ่มมากขึ้นทุกปีตามปริมาณการใช้เชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น
มลภาวะทางดิน ดินเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งของสิ่งมีชีวิต จึงจำเป็นต้องรักษาดินให้ใช้ประโยชน์ได้นานที่สุด การกำจัดสารพิษ ด้วยวิธีการฝังดินรวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลต่างๆ โดยการทิ้งบนดิน จะเป็นสาเหตุทำให้ดินมีสภาพไม่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก และก่อให้เกิดภาวะมลพิษทางดิน ปุ๋ยเคมีและสารเคมีที่ใช้ปราบศัตรูพืชก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะมลพิษทางดินได้ เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ยางรถยนต์ พลาสติก บรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้สลายตัวยาก มีความทนทานต่อน้ำแสงแดด และอากาศ จึงตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมทั้งในดินและน้ำ นักวิทยาศาสตร์จึงคิดค้นวิธีกำจัดพลาสติกที่ใช้แล้ว รวมทั้งค้นคว้าเพื่อสังเคราะห์พลาสติกชนิดใหม่ๆ ที่สามารถใช้งานได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นจะเสื่อมสลายไป หรือสังเคราะห์พลาสติกที่จุลินทรีย์สามารถย่อยสลายได้ ในปัจจุบันมีวิธีกำจัดพลาสติกที่ใช้แล้วหลายวิธีดังนี้
ก. ใช้ปฏิกิริยาชีวเคมี เนื่องจากพลาสติกส่วนใหญ่มีความทนทานต่อการย่อยสลายของเอนไซม์จากจุลินทรีย์นักวิทยาศาสตร์จึงได้คิดค้นพลาสติกที่มีโครงสร้างทางเคมีที่สามารถถูกทำลายได้ด้วยเอนไซม์ของจุลินทรีย์พวกแบคทีเรียและเชื้อรา ตัวอย่างเช่น เซลลูโลสซานเทค และเซลลูโลสแอซีเตต หรือการผสมแป้งข้าวโพดในพอลิเอทิลีนแล้วนำมาผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์
ข. ใช้สมบัติการละลายในน้ำ พลาสติกบางชนิด เช่น พอลิไวนิลแอลกอฮอล์สามารถละลายในน้ำได้เมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีความชื้นสูง หรืออยู่ในน้ำซึ่งเป็นตัวทำละลายในธรรมชาติ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นพลาสติกจะละลายได้เพิ่มขึ้น
ค. ใช้แสงแดด นักเคมีชาวแคนาดาพบว่าการเติมหมู่ฟังก์ชันที่ไวต่อแสงอัลตราไวโอเลตเข้าไปในโซ่พอลิเมอร์ เมื่อพลาสติกถูกแสงแดดจะเกิดสารที่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศทำให้พลาสติกเสื่อมคุณสมบัติ เปราะแตก และหักง่าย
ง. ใช้ความร้อน พลาสติกพวกที่เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน เมื่อได้รับความร้อนถึงระดับหนึ่งจะสลายตัวเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก ในที่สุดจะได้คาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำหรือสารอื่นซึ่งเป็นพิษปนออกมาด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพลาสติก เช่น พอลิเอทิลีนติดไฟง่าย พอลิสไตรีนเผาไหม้ให้ควันดำและเขม่ามาก ส่วนพอลิไวนิลคลอไรด์ติดไฟยากต้องให้ความร้อนตลอดเวลาและมีแก๊สไฮโดรเจนคลอไรด์ซึ่งเป็นแก๊สพิษเกิดขึ้นด้วย การเผาเป็นวิธีกำจัดพลาสติกที่รวดเร็ว แต่มีข้อเสียคืออาจเกิดสารพิษที่ก่อให้เกิดภาวะมลพิษทางอากาศได้
จ. นำกลับมาใช้ใหม่ พลาสติกประเภทเทอร์มอพลาสติกสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยล้างทำความสะอาดแล้วนำเข้าเครื่องตัดเป็นชิ้นเล็กก่อนเข้าเครื่องอัดเม็ดเม็ดพลาสติกที่ได้จะสามารถนำไปหลอมเป็นชิ้นงานได้อีก เช่น นำไปใช้ทำโฟมกันกระแทกในการบรรจุผลิตภัณฑ์ ผสมในซีเมนต์เพื่อให้รับแรงกระแทก ใช้ถมที่ดินชายฝั่งทะเลแล้วอัดให้แน่นเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย หรืออาจนำมาอัดให้แน่นใช้ทำเป็นอิฐหรือวัสดุก่อสร้างซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมในแง่เศรษฐกิจและเป็นการสงวนทรัพยากร
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น