วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 1 บทนำ

               โครงงาน เรื่อง การศึกษาพลังงานในชีวิตประจำวัน 

ชื่อโครงงาน การศึกษาพลังงานในชีวิตประจำวัน
ผู้จัดทำโครงงาน นางสาวอัจฉราพร ชุ่มมาก
ครูที่ปรึกษา นายธนดล คำเสมอ
โรงเรียน โรงเรียนบัวเชดวิทยา อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 33 บทคัดย่อ การทำโครงงานการสื่อสารและการนำเสนอเรื่อง การศึกษาพลังงานในชีวิตประจำวัน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน 2.เพื่อให้บุคคลทั่วไปตระหนักถึงปัญหาการใช้พลังงานในประเทศไทย 3.เพื่อให้บุคคลทั่วไปตระหนักถึงผลกระทบของการใช้พลังงาน 4.เพื่อศึกษาแนวทางในการอนุรักษ์พลังงาน ผลการทดลองสรุปได้ดังนี้ ผลการศึกษาความหมายของพลังงาน พบว่า พลังงาน หมายถึง ความสามารถในการทำงานซึ่งมีอยู่ในตัวของสิ่งของที่อาจให้งาน ได้แก่ พลังงานหมุนเวียน และพลังงานสิ้นเปลือง ความสามารถของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะทำงานได้งาน เป็นผลของการกระทำของแรงเป็นเหตุให้สิ่งนั้นเคลื่อนที่ พลังงานมีหลายประเภท พลังงานที่ได้ศึกษามา ได้แก่พลังงานทดแทน พลังงานสิ้นเปลือก โดยคุณสมบัติของพลังงานแต่ละชนิดจะต่างกันโดยพลังงานที่ใช้กันปัจจุบันมีทั้งพลังงานที่สิ้นเปลือกเป็นพลังงานที่กว่าจะสร้างขึ้นมาใหม่ต้องใช้เวลานับหลายพันปี ซึ่งพลังงานแหล่งสำรองของโลกก็ต้องหมดไป ส่วนของไทยนั้นก็เป็นเช่นเดียวกัน การเลือกใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้ามีหลายวิธีที่ควรปฏิบัติ ในส่วนปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงาน ภาวะมลพิษที่เกิดจากการผลิตและใช้ผลิตภัณฑ์จากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะประเทศใด และมลพิษของพลังงานทดแทนต่อสิ่งแวดล้อมก็เป็นปัญหาที่ต้องดูแลเช่นกัน วิธีการอนุรักษ์พลังงานมีหลายวิธีซึ่งรวบรวมมาอย่างน้อย 108 วิธี กิตติกรรมประกาศ โครงงานการสื่อสารและการนำเสนอเรื่อง การศึกษาพลังงานในชีวิตประจำวันได้รับการสนับสนุนจากนายธีระทัศน์ อัครฉัตรรัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบัวเชดวิทยา ตลอดจนได้รับความอนุเคราะห์ จากคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และการงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่ได้ให้ข้อแนะนำ และอำนวยความสะดวกในการให้ใช้ห้องปฏิบัติการเป็นอย่างดี ขอขอบคุณ คุณครูธนดล คำเสมอ ครูที่ปรึกษาโครงงานที่ได้ให้ข้อเสนอแนะในการทำการศึกษา หาข้อมูล การแก้ปัญหาต่างๆ ระหว่างการทำโครงงานตลอดจนแนะนำเอกสารและตำราต่างๆ ที่ใช้สำหรับศึกษาค้นคว้าในการทำโครงงานครั้งนี้จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ขอขอบพระคุณคุณพ่อ คุณแม่ ที่คอยให้กำลังใจ และให้ความอนุเคราะห์ในด้านต่างๆเพื่อการศึกษา ทำให้การศึกษาครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ผู้จัดทำโครงงานจึงใคร่ขอขอบพระคุณทุกท่าน ดังกล่าวข้างต้นไว้ ณ ที่นี้เป็นอย่างสูง ผู้จัดทำ สารบัญ หน้า บทคัดย่อ ก กิตติกรรมประกาศ ข สารบัญ ค บทที่ 1 บทนำ 1 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 6 บทที่ 3 วิธีการดำเนิน 11 บทที่ 4 ผลการทดลอง 13 บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลการศึกษา ข้อเสนอแนะ 48 บรรณานุกรม 58 บทที่ 1 ที่มาและความสำคัญ พลังงานนับได้ว่ามีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ทุกชนิดในโลก โดยนับตั้งแต่ได้เกิดสิ่งมีชีวิตขึ้นครั้งแรกนั้น พลังงานเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ก่อให้เกิดการรวมตัวกันของธาตุชนิด ในอัตราส่วนที่เหมาะสม ก่อให้เกิดวิวัฒนาการ และก่อเกิดการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตขึ้น นอกจากพลังงานจะเป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตดังกล่าวแล้ว มนุษย์ยังรู้จักใช้แรงงานจากสัตว์ และพลังงานจากแสงอาทิตย์ยังเป็นพลังงานที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์โดยตรงก่อนพลังงานอื่นๆ ซึ่งต่อมารู้จักใช้พลังงานที่มีปรากฏอยู่ในธรรมชาติอื่นๆ เช่น พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานใต้พิภพ มาใช้ในกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น แต่ที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ เชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์ ซึ่งการเผาไหม้คือ เชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์จะมีมีสารพิษจากการเผาไหม้เกิดขึ้น และเนื่องด้วยการขยายตัวของเศรษฐกิจสูงขึ้น การใช้พลังงานก็สูงขึ้น ผลสืบเนื่องก็คือเกิดความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม สารพิษจึงสะสมจนก่อให้เกิดมลภาวะ ตลอดจนการใช้พลังงานด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความประมาทเลินเล่อ ของมนุษย์ ได้ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ต่างๆ มักเกิดผลเสียที่เราคาดไม่ถึงเสมอ เช่นการเกิดสารพิษในอากาศ การเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ ระบบนิเวศถูกทำลาย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นผู้จัดทำจึงได้ศึกษาค้นคว้า หาข้อมูลเกี่ยวกับการใช้พลังงาน ประวัติการใช้พลังงานของมนุษย์ และสถานการณ์การใช้พลังงาน และการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งที่จะสามารถเผยแพร่ให้เกิดความรู้กับบุคคลทั่วไป เพื่อที่จะตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับการใช้พลังงาน ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเห็นโทษของการใช้พลังงานที่ผิดๆ และสร้างจิตสำนึกให้เกิดแก่สังคมไทย เป้าหมาย 1.เห็นผลกระทบของปัญหาเกี่ยวกับการใช้พลังงาน 2.ผู้คนให้คามสำคัญของการอนุรักษ์พลังงาน วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน 2.เพื่อให้บุคคลทั่วไปตระหนักถึงปัญหาการใช้พลังงานในประเทศไทย 3.เพื่อให้บุคคลทั่วไปตระหนักถึงผลกระทบของการใช้พลังงาน 4.เพื่อศึกษาแนวทางในการอนุรักษ์พลังงาน หลักการและทฤษฎี ความหมายของการอนุรักษ์พลังงาน พลังงาน มาจากคำว่า พลัง และ งาน หมายถึง พลังต่างๆ ที่นำมาใช้ให้เกิดเป็นงานตามพระราชบัญญัติการพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน พ.ศ.2535 พลังงาน หมายถึง ความสามารถในการทำงานซึ่งมีอยู่ในตัวของสิ่งของที่อาจให้งาน ได้แก่ พลังงานหมุนเวียน และพลังงานสิ้นเปลือง ความสามารถของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะทำงานได้งาน เป็นผลของการกระทำของแรงเป็นเหตุให้สิ่งนั้นเคลื่อนที่ เช่น เปลวไฟที่เผากาน้ำจะเปลี่ยนน้ำ ให้เป็นไอน้ำและแรงดันไอน้ำจะดันฝากาน้ำขึ้นได้ งานเช่นนี้เรียกว่า พลังงานและพลังงานยังรวมถึงการผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นการประหยัด ค่าใช้จ่ายในกิจการแล้ว ยังจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจาก แหล่งที่ใช้และผลิตพลังงาน กฎการอนุรักษ์พลังงาน กล่าวว่า "พลังงานไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่หรือทำให้สูญหายไปได้ แต่พลังงาน สามารถเกิดการถ่ายโอนระหว่างพลังงานด้วยกันได้ หรือเกิดการเปลี่ยนรูปพลังงานได้นั่นเอง" มนุษย์ใช้หลักการดังกล่าวเปลี่ยนรูปพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์และตรงตามความต้องการได้ กฎแห่งการสูญเสียพลังงาน กล่าวว่า “ในการเปลี่ยนแปลงรูปพลังงานนั้นพลังงานส่วนหนึ่งจะสูญเสียไป ให้กับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเมื่อพลังงานถูกเปลี่ยนไปหลายๆ ชั้นก็ยิ่งทำได้ พลังงานมีปริมาณน้อยไปทุกที” ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงาน คือ สภาพความเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อมส่วนใหญ่ อาจกล่าวได้ว่ามีสาเหตุมาจากการผลิตและการใช้พลังงานของมนุษย์แทบทั้งสิ้น ดังนั้นการเสาะแสวงหาทรัพยากรพลังงานมาเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานที่สูงขึ้นเรื่อยๆจึงควรระมัดระวังและพิจารณาให้รอบคอบก่อนนำมาใช้ นักสิ่งแวดล้อมได้กล่าวถึงผลกระทบจากการใช้ทรัพยากรพลังงาน มลพิษทางอากาศ คือ มลภาวะที่เกิดจากแหล่ง กำเนิดอุตสาหกรรม เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงและกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดผล กระทบต่อคุณภาพอากาศในบรรยากาศและอาจส่งผล กระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน โดยทั่วไปหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ หาปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องใช้ไปในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ เรียกว่า ค่า BOD(Biochemical Oxygen Demand) ซึ่งจะบอกถึงปริมาณจุลินทรีย์ที่ต้องใช้ออกซิเจนในน้ำ หาปริมาณความต้องการออกซิเจนของสารเคมีที่อยู่ในน้ำ เรียกว่า ค่า CDO (Chemical Oxygen Demand) ซึ่งจะบอกถึงปริมาณของสารเคมีที่สามารถทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในน้ำ ก๊าซธรรมชาติ ประกอบด้วย สารไฮโดรคาร์บอนประเภทต่างๆ เป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่เหลือ ประกอบด้วยก๊าซประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ โดยมีไฮโดรเจนซัลไฟด์ ปนอยู่ด้วยในระดับหนึ่ง การซื้อขายก๊าซธรรมชาติ จะคิดราคาตามค่าความร้อน ของเชื้อเพลิง ส่วนข้อกำหนดอื่นๆ จะเป็นส่วนประกอบ ที่ช่วยให้ความมั่นใจ ในความสะอาดว่า จะไม่มีปัญหาในการใช้ ซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อม จากการใช้ก๊าซธรรมชาติ มีค่อนข้างน้อย เนื่องจากในขบวนการ เผาไหม้ก๊าซธรรมชาติ จะถูกเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ ได้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ ได้อย่างสูงสุด ก๊าซธรรมชาติจะถูกนำไปแยกก่อนการใช้ โดยส่วนที่เป็น ก๊าซมีเทน มักจะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง ในการผลิตไฟฟ้า และในอุตสาหกรรม รวมทั้ง ใช้เป็น เชื้อเพลิงในยานพาหนะ ส่วนที่เป็นอีเทน และโพรเพน จะนำไปใช้เป็นวัตถุดิบ ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และส่วนที่เป็นโพรเพนและบิวเทน จะนำไปใช้เป็นก๊าซหุงต้ม ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม และยานพาหนะ ถ่านหิน คือ หินตะกอนชนิดหนึ่งซึ่งสามารถติดไฟได้ และมีส่วนประกอบ ที่เป็นสารประกอบ ของคาร์บอนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 โดยน้ำหนัก หรือ ร้อยละ 70 โดยปริมาตร และยังมีสารประกอบ อื่นๆ เช่น ไฮโดรเจน อ๊อกซิเจน ไนโตรเจน และกำมะถัน เป็นต้น การจำแนกคุณสมบัติของถ่านหิน ตามคุณสมบัติทางเคมี และค่าความร้อนอย่างหยาบๆ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด คือส่วนใหญ่มีการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และอุตสาหกรรมที่ใช้หม้อไอน้ำ เช่น โรงงานกระดาษ และโรงงานชูรส เป็นต้น อย่างไรก็ตามในการ เผาไหม้ถ่านหินจะมีการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ฝุ่นละออง และควัน ดังนั้น ก่อนนำเชื้อเพลิงไปใช้จะต้องหาวิธีการจัดการ กับมลพิษ โดยอาจเลือกใช้ถ่านหินคุณภาพดี หรืออาจลดปริมาณสารมลพิษในเชื้อเพลิง ก่อนนำไปใช้ หรือใช้เทคโนโลยี ในการกำจัดมลพิษที่เกิดขึ้น ก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม เชื้อเพลิงชีวมวล คือ สารทุกรูปแบบที่ได้จากสิ่งมีชีวิต รวมทั้ง การผลิตจากการเกษตรและป่าไม้เช่น ไม้ฟืน แกลบ กากอ้อย วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอื่นๆ รวมถึง ของเสียจากสัตว์ เช่นมูลสัตว์และของเสีย จากโรงงานแปรรูปทางเกษตร และขยะมาผลิตก๊าซชีวภาพ ในการผลิตพลังงาน จำนวนเท่าๆ กันต้องใช้ไม้ฟืน ในปริมาตรที่มากกว่าน้ำมันและถ่าน ดังนั้น จึงเหมาะที่จะใช้ใน ครัวเรือน พลังงานน้ำ เป็นพลังงานที่ได้มาจากแรงอัดดันของน้ำ ที่ปล่อยจากอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน น้ำที่ปล่อยไปนี้ จะได้รับการทดแทนทุกปี โดยฝนหรือการละลายของหิมะ แต่ในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยต้องสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ ต้องมีการอพยพสัตว์ป่า และชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ และสภาพแวดล้อม บริเวณดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป พลังงานแสงอาทิตย์ ได้มาจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ ซึ่งนำมาใช้เป็นพลังงานความร้อน และการสังเคราะห์แสง หรือโดยผ่านอุปกรณ์รับแสง เช่น เซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อเปลี่ยนเป็น พลังงานไฟฟ้าและความร้อน เพื่อนำไปใช้งานต่อไป พลังงานลม เกิดจากการเคลื่อนตัวของอากาศ ถ้าอากาศเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง จะทำให้มีพลังงานมาก ซึ่งสามารถนำมาใช้หมุนกังหันลม เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า พลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นการนำน้ำร้อนที่มีอยู่ใต้พื้นดิน มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการผลิตกระแสไฟฟ้า กลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาพลังงาน ความร้อนใต้พิภพ มาใช้ประโยชน์ อย่างเด่นชัดมักเป็นกลุ่มประเทศ ที่มีสภาพทางธรณีวิทยา เอื้ออำนวยต่อศักยภาพ ทางพลังงานความร้อนใต้พิภพ ซึ่งได้แก่ บริเวณที่เปลือกโลกมีการเคลื่อนไหว และมีแนวของภูเขาไฟอย่างต่อเนื่อง เช่น ประเทศอิตาลี ไอซ์แลนด์ สหรัฐอเมริกา (แถบตะวันตก) เม็กซิโก ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์อินโดนีเซีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น พลังงานนิวเคลียร์ เป็นพลังงานที่ได้มาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ ซึ่งเกิดจากการแตกตัวของ นิวเคลียสของธาตุเชื้อเพลิง เช่น ยูเรเนียม และให้พลังงานความร้อนมหาศาล จึงใช้ในการผลิตไฟฟ้า ปฏิกิริยานิวเคลียร์ สามารถขจัดปัญหา การปล่อยมลพิษทางอากาศ รวมทั้ง การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เป็นปัญหาหลักของเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ แต่ก็มีปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นที่อาจเกิดจาก การใช้สารรังสี ซึ่งหากมีเทคโนโลยีควบคุมที่ดี ก็จะป้องกันการรั่วไหลของสารรังสีได้ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องการกำจัดกากนิวเคลียร์ ซึ่งจะต้องมีมาตรการควบคุมดูแล ไม่ให้การกำจัดกาก ของเสียส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบ เนื่องจากสารเหล่านี้มีค่าทางรังสีสูงมาก และจะคงสภาพอยู่เป็นเวลานับพันๆ ล้านปีหลักการในการจัดหาพลังงาน ในการกำหนดนโยบายพลังงาน จะต้องคำนึงถึงหลักการ ในการจัดหาพลังงาน ดังต่อไปนี้ •ต้องมีแหล่งสำรองพลังงานที่มีปริมาณเพียงพอ และแน่นอน เพื่อความมั่นคงในการจัดหา •ต้องมีการกระจายแหล่งของพลังงาน และชนิดของพลังงาน เพื่อลดความเสี่ยง โดยหลีกเลี่ยงการ พึ่งพาพลังงานจากแหล่งเดียว หรือชนิดเดียว •ต้องมีราคาที่เหมาะสม เพื่อให้ต้นทุนการผลิตต่ำ •ต้องเป็นพลังงานที่สะอาด ก่อให้เกิดมลพิษน้อย หรืออาจจะเป็นพลังงานที่ไม่สะอาด แต่มี เทคโนโลยีที่ควบคุมมลพิษได้ •ต้องใช้ทรัพยากรพลังงาน ภายในประเทศ ที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เหมาะสมกับ คุณค่าของทรัพยากร การเลือกใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า การเลือกใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า จะต้องพิจารณาถึงศักยภาพ ของแหล่งเชื้อเพลิง ความมั่นคง ในการจัดหา ราคาของเชื้อเพลิง และปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ของเชื้อเพลิง รวมถึงประเภทของโรงไฟฟ้า ที่ต้องการในระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะการใช้ไฟฟ้า ในแต่ละช่วงเวลา ชนิดของเชื้อเพลิงที่ กฟผ. ได้พิจารณาเพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิง ในการผลิตไฟฟ้า ได้แก่ พลังน้ำน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ลิกไนต์ ถ่านหิน นิวเคลียร์ ออริมัลชั่น (Orimulsion) และการซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ยังมีพลังงานทดแทน ซึ่งได้แก่พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นต้น

บทที่ 4 ผลการศึกษา

บทที่ 4 ผลการศึกษา จากการทำโครงงานเรื่อง การศึกษาพลังงานในชีวิตประจำวัน สามารถรวบรวมข้อมูล และศึกษาข้อมูลได้ดังนี้ ตอนที่ 1 ความหมายของพลังงาน พลังงาน มาจากคำว่า พลัง และ งาน หมายถึง พลังต่างๆ ที่นำมาใช้ให้เกิดเป็นงานตามพระราชบัญญัติการพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน พ.ศ.2535 พลังงาน หมายถึง ความสามารถในการทำงานซึ่งมีอยู่ในตัวของสิ่งของที่อาจให้งาน ได้แก่ พลังงานหมุนเวียน และพลังงานสิ้นเปลือง ความสามารถของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะทำงานได้งาน เป็นผลของการกระทำของแรงเป็นเหตุให้สิ่งนั้นเคลื่อนที่ เช่น เปลวไฟที่เผากาน้ำจะเปลี่ยนน้ำ ให้เป็นไอน้ำและแรงดันไอน้ำจะดันฝากาน้ำขึ้นได้ งานเช่นนี้เรียกว่า พลังงานและพลังงานยังรวมถึงการผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นการประหยัด ค่าใช้จ่ายในกิจการแล้ว ยังจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจาก แหล่งที่ใช้และผลิตพลังงาน ตอนที่ 2 พลังงานในรูปแบบต่างๆ พลังงานนอกจากจะอยู่ในรูปแบบพลังงานศักย์ พลังงานจลน์ หรือพลังงานกลแล้วในชีวิตประจำวันเรายังพบพลังงานในรูปแบบต่างๆ ดังนี้ 1. พลังงานเคมี เป็นพลังงานที่แฝงอยู่ในโครงสร้างของสาร เช่น พลังงานเคมีที่อยู่ในน้ำมันเชื้อเพลิง พลังงานเคมีที่อยู่ในอาหาร พลังงานเคมีที่มีอยู่ในแบตเตอรี่หรือถ่านไฟฉาย ถ้านำมาใช้จะปล่อยพลังงานเคมีออกมาใช้ทำประโยชน์ในด้านต่างๆ พลังงานเคมีนี้อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "พลังงานสะสม" 2. พลังงานไฟฟ้า เป็นพลังงานที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนหรือประจุไฟฟ้าในช่วงเวลาหนึ่ง โดยผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีความต่างศักย์ไฟฟ้า เช่น ไดนาโม เซลล์สุริยะ เป็นต้น 3. พลังงานคลื่น เป็นพลังงานที่ส่งมาในรูปของคลื่น เช่น คลื่นแสง เสียง คลื่นวิทยุ ซึ่งมนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ต่างๆ มากมาย เช่น ใช้ในการพยากรณ์อากาศ การสื่อสาร โดยจะใช้พลังงานที่อยู่ในรูปของคลื่นในการรับส่งข้อมูล 4. พลังงานนิวเคลียร์ เป็นพลังงานที่ถูกปล่อยออกมาในรูปของสารกัมมันตรังสีซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติ หรือสารกัมมันตรังสีในระเบิดนิวเคลียร์ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์จะใช้พลังงานนิวเคลียร์จากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในรูปของพลังงานความร้อนใน การผลิตกระแสไฟฟ้า ตอนที่ 3 พลังงานทดแทน ความสำคัญของพลังงานทดแทน พลังงานหลักที่มนุษย์ใช้เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันคือ พลังงานปิโตรเลียม โดยเฉพาะ พลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งในปัจจุบันมีความต้องการใช้น้ำมันเป็นจำนวนมาก แต่ปริมาณน้ำมันมีจำนวนจำกัดทำให้ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นมาก และคาดการณ์ว่าอาจจะทะลุเลยบาร์เรลละ 100 เหรียญ สหรัฐอเมริกาได้ นอกจากนี้ปริมาณการใช้อาจจะไม่เกิน 40 ปี ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีการกระตุ้นการคิดขึ้น พัฒนารูปแบบของพลังงานเชื้อเพลิงต่างๆ ขึ้นมาทดแทน โดยเฉพาะเชื้อเพลิงทดแทนซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีการนำทดแทนใช้เป็นเชื้อเพลิงจากก๊าซชีวภาพ ( Bioglass Fuel ) น้ำมันแก๊สโซฮอลล์ น้ำมันไบโอดีเซล จาก ตัวเลขสถิติจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม ประเทศไทยมีความ ต้องการใช้น้ำมันดีเซลในปี พ.ศ. 2547 ถึง 28,201 ล้านลิตร ดังนั้นเราสามารถส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการ ใช้น้ำมันพืชในการผลิตไบโอดีเซลแล้ว จะมีผลต่อการรักษาเงินตราของประเทศ สร้างความมั่นคงและสามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงานของประเทศ อีกทั้งช่วยสร้างตลาดที่มั่นคงให้กับผลผลิตทางการเกษตรอีก ด้วย นอกจากนี้การนำเอาพลังงานทดแทนโดยเฉพาะพลังงานทดแทนประเภทหมุนเวียน เป็นพลังงานจากแสงอาทิตย์ , น้ำ , ลม จะช่วยป้องกันการเกิดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะเป็นแนวทางในการรณรงค์ช่วยกันรักษา ภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่งด้วย ในปัจจุบันเรื่องพลังงานเป็นปัญหาใหญ่ของโลก และนับวันจะมีผลกระทบรุนแรงต่อมวลมนุษยชาติมากขึ้นทุกที การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ให้ความสำคัญในการร่วมหาหนทางแก้ไข ทำการศึกษา ค้นคว้า สำรวจ ทดลอง ติดตามเทคโนโลยีอย่างจริงจังและต่อเนื่องมาโดยตลอด เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการนำพลังงานทดแทนและเทคโนโลยีใหม่ๆในด้านพลังงานทดแทนเข้ามาใช้ในประเทศไทยต่อไป โดยคำนึงถึงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมซึ่งพอจะจำแนกประเภทของพลังงานทดแทนได้ดังนี้ 1.ดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์ให้พลังงานจำนวนมหาศาลแก่โลกของเรา พลังงานจากดวงอาทิตย์จัดเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญที่สุด เป็นพลังงานสะอาดไม่ทำปฏิกิริยาใดๆอันจะทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เซลล์แสงอาทิตย์จึงเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางอิเล็คทรอนิคส์ชนิดหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า เนื่องจากสามารถเปลี่ยนเซลล์แสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง ส่วนใหญ่เซลล์แสงอาทิตย์ทำมาจากสารกึ่งตัวนำพวกซิลิคอน มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้สูงถึง 22 เปอร์เซนต์ ในส่วนของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ในเกณฑ์สูง พลังงานโดยเฉลี่ยซึ่งรับได้ทั่วประเทศประมาณ 4 ถึง 4.5 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อวัน ประกอบด้วยพลังงานจากรังสีตรง (Direct Radiation) ประมาณ 50 เปอร์เซนต์ ส่วนที่เหลือเป็นพลังงานรังสีกระจาย (Diffused Radiation) ซึ่งเกิดจากละอองน้ำในบรรยากาศ(เมฆ) ซึ่งมีปริมาณสูงกว่าบริเวณที่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรออกไปทั้งแนวเหนือ - ใต้ ในประเทศไทยมีการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้จำนวน 2 รูปแบบ คือ 1.ผลิตไฟฟ้าโดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์ 2.ผลิตความร้อน 2.พลังงานความร้อนใต้ พิภพ พลังงานความร้อนใต้พิภพฝาง แหล่งน้ำพุร้อนตามธรรมชาติ ที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ น้ำร้อนที่ถูกนำไปใช้ใน การผลิตไฟฟ้าแล้วนั้น แม้อุณหภูมิจะลดลงบ้าง แต่ก็ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการอบแห้ง และใช้ใน ห้องเย็นสำหรับเก็บรักษาพืชผลทางการเกษตรได้ นอกจากนั้น น้ำที่เหลือใช้แล้วยังสามารถนำไปใช้ในกิจการเพื่อกายภาพบำบัด และการท่องเที่ยวได้อีก ท้ายที่สุดคือ น้ำทั้งหมดซึ่งยังมีสภาพเป็นน้ำอุ่นอยู่เล็กน้อย จะถูกปล่อยลงไปผสมกับน้ำตามธรรมชาติในลำน้ำ ซึ่งนับเป็นการเพิ่มปริมาณน้ำให้กับเกษตรกรในฤดูแล้ง ได้อีกทางหนึ่งด้วย 3.เชื้อเพลิงที่มาจากชีวมวล เชื้อเพลิงที่มาจากชีวะ หรือสิ่งมีชีวิตเช่น ไม้ฟืน แกลบ กากอ้อย เศษไม้ เศษหญ้า เศษเหลือทิ้งจากการเกษตร เหล่านี้ใช้เผาให้ความร้อนได้ และความร้อนนี้แหละที่เอาไปปั่นไฟ นอกจากนี้ยังรวมถึงมูลสัตว์และของเสียจากโรงงานแปรรูปทางการเกษตร เช่น เปลือกสับปะรดจากโรงงานสับปะรดกระป๋อง หรือน้ำเสียจากโรงงานแป้งมัน ที่เอามาหมักและผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ โดยเหตุที่ประเทศไทยทำการเกษตรอย่างกว้างขวาง วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น แกลบ ขี้เลื่อย ชานอ้อย กากมะพร้าว ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก (เทียบได้น้ำมันดิบปีละไม่น้อยกว่า 6,500 ล้านลิตร) ก็ควรจะใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ได้ ในกรณีของโรงเลื่อย โรงสี โรงน้ำตาลขนาดใหญ่ อาจจะยินยอมให้จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าต่างๆในประเทศ ในลักษณะของการผลิตร่วม (Co-generation) ซึ่งมีใช้อยู่แล้วหลายแห่งในต่างประเทศโดยวิธีดังกล่าวแล้วจะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานในประเทศสำหรับส่วนรวมได้มากยิ่งขึ้นทั้งนี้อาจจะรวมถึงการใช้ไม้ฟืนจากโครงการปลูกไม้โตเร็วในพื้นที่นับล้านไร่ ในกรณีที่รัฐบาลจำเป็นต้องลดปริมาณการปลูกมันสำปะหลัง อ้อย เพื่อแก้ปัญหาระยะยาวทางด้านการตลาดของพืชทั้งสองชนิด อนึ่ง สำหรับผลิตผลจากชีวมวลในลักษณะอื่นที่ยังใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ เช่น แอลกอฮอล์ จากมันสำปะหลัง ก๊าซจากฟืน(Gasifier) ก๊าซจากการหมักเศษวัสดุเหลือจากการเกษตร(Bio Gas) ขยะ ฯ หากมีความคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ก็อาจนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้าได้เช่นกัน 4.น้ำ พื้นผิวโลกถึง 70 เปอร์เซนต์ ปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย น้ำเหล่านี้มีการเปลี่ยนสถานะและหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา ระหว่างผิวโลกและบรรยากาศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรียกว่า วัฏจักรของน้ำ น้ำที่กำลังเคลื่อนที่มีพลังงานสะสมอยู่มาก และมนุษย์รู้จักนำพลังงานนี้มาใช้หลายร้อยปีแล้ว เช่น ใช้หมุนกังหันน้ำ ปัจจุบันมีการนำพลังงานน้ำไปหมุนกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้า 5.ขยะ พลังงานจากขยะจากบ้านเรือนและกิจการต่างๆ เป็นแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพสูง ขยะเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นมวลชีวภาพ เช่น กระดาษ เศษอาหาร และไม้ ซึ่งสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าที่ถูกออกแบบให้ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิงได้ ที่เมืองบัลโม ประเทศสวีเดน ไฟฟ้าที่ใช้ประมาณ 20 เปอร์เซนต์ มาจากการเผาขยะ โรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิง จะนำขยะมาเผาบนตะแกรง ความร้อนที่เกิดขึ้นใช้ต้มน้ำในหม้อน้ำจนกลายเป็นไอน้ำเดือด ซึ่งจะไปหมุนกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เหมือนกับโรงไฟฟ้าอื่นๆ) ตอนที่ 4 คุณสมบัติของพลังงานแต่ละชนิด น้ำมันดิบ มีสถานะตามธรรมชาติ เป็นของเหลวประกอบด้วย สารไฮโดรคาร์บอน ชนิดระเหยง่าย เป็นส่วนใหญ่ และส่วนที่เหลือประกอบด้วย สารกำมะถัน ไนโตรเจน และสารประกอบออกไซด์อื่นๆ ซึ่งมักเรียกว่าเป็นสิ่งปฏิกูล ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อคุณภาพ ของผลิตภัณฑ์ที่กลั่นได้ ราคาของน้ำมันดิบ จะถูกหรือแพง ขึ้นอยู่กับคุณภาพของน้ำมันดิบว่า มีสิ่งปฏิกูลเจือปนมากน้อยเพียงใด ผลิตภัณฑ์ที่กลั่นได้จากน้ำมันดิบ ได้แก่ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา และยางมะตอย โดยก๊าซปิโตรเลียมเหลว จะใช้เป็นเชื้อเพลิง ในการหุงต้ม ในยานพาหนะ และในภาคอุตสาหกรรม น้ำมันเบนซิน ดีเซล และน้ำมันเครื่องบิน จะใช้เป็นเชื้อเพลิง ในภาคคมนาคมขนส่ง ส่วนน้ำมันเตา จะใช้เป็นเชื้อเพลิง ในการผลิตไฟฟ้า ในภาคอุตสาหกรรม และในการขนส่งทางน้ำ เมื่อมีการนำน้ำมันเชื้อเพลิง ไปเผาไหม้ ก็จะมีฝุ่นละออง เขม่า และก๊าซที่ถูกปล่อยออกมา ระหว่างขบวนการเผาไหม้ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นต้น ดังนั้น จึงต้องมีการควบคุม ในเรื่องของคุณภาพน้ำมัน และการใช้เทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยในการควบคุมเพื่อลดปริมาณ ฝุ่นละออง และก๊าซดังกล่าวไม่ให้เป็นอันตราย ต่อสุขภาพของประชาชน และสิ่งแวดล้อม ก๊าซธรรมชาติ ประกอบด้วย สารไฮโดรคาร์บอนประเภทต่างๆ เป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่เหลือ ประกอบด้วยก๊าซประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ โดยมีไฮโดรเจนซัลไฟด์ ปนอยู่ด้วยในระดับหนึ่ง การซื้อขายก๊าซธรรมชาติ จะคิดราคาตามค่าความร้อน ของเชื้อเพลิง ส่วนข้อกำหนดอื่นๆ จะเป็นส่วนประกอบ ที่ช่วยให้ความมั่นใจ ในความสะอาดว่า จะไม่มีปัญหาในการใช้ ซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อม จากการใช้ก๊าซธรรมชาติ มีค่อนข้างน้อย เนื่องจากในขบวนการ เผาไหม้ก๊าซธรรมชาติ จะถูกเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ ได้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ ได้อย่างสูงสุด ก๊าซธรรมชาติจะถูกนำไปแยกก่อนการใช้ โดยส่วนที่เป็น ก๊าซมีเทน มักจะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง ในการผลิตไฟฟ้า และในอุตสาหกรรม รวมทั้ง ใช้เป็น เชื้อเพลิงในยานพาหนะ ส่วนที่เป็นอีเทน และโพรเพน จะนำไปใช้เป็นวัตถุดิบ ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และส่วนที่เป็นโพรเพนและบิวเทน จะนำไปใช้เป็นก๊าซหุงต้ม ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม และยานพาหนะ ถ่านหิน คือ หินตะกอนชนิดหนึ่งซึ่งสามารถติดไฟได้ และมีส่วนประกอบ ที่เป็นสารประกอบ ของคาร์บอนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 โดยน้ำหนัก หรือ ร้อยละ 70 โดยปริมาตร และยังมีสารประกอบ อื่นๆ เช่น ไฮโดรเจน อ๊อกซิเจน ไนโตรเจน และกำมะถัน เป็นต้น การจำแนกคุณสมบัติของถ่านหิน ตามคุณสมบัติทางเคมี และค่าความร้อนอย่างหยาบๆ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด คือ ส่วนใหญ่มีการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และอุตสาหกรรมที่ใช้หม้อไอน้ำ เช่น โรงงานกระดาษ และโรงงานชูรส เป็นต้น อย่างไรก็ตามในการ เผาไหม้ถ่านหินจะมีการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ฝุ่นละออง และควัน ดังนั้น ก่อนนำเชื้อเพลิงไปใช้จะต้องหาวิธีการจัดการ กับมลพิษ โดยอาจเลือกใช้ถ่านหินคุณภาพดี หรืออาจลดปริมาณสารมลพิษในเชื้อเพลิง ก่อนนำไปใช้ หรือใช้เทคโนโลยี ในการกำจัดมลพิษที่เกิดขึ้น ก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม เชื้อเพลิงชีวมวล คือ สารทุกรูปแบบที่ได้จากสิ่งมีชีวิต รวมทั้ง การผลิตจากการเกษตรและป่าไม้เช่น ไม้ฟืน แกลบ กากอ้อย วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอื่นๆ รวมถึง ของเสียจากสัตว์ เช่นมูลสัตว์และของเสีย จากโรงงานแปรรูปทางเกษตร และขยะมาผลิตก๊าซชีวภาพ ในการผลิตพลังงาน จำนวนเท่าๆ กันต้องใช้ไม้ฟืน ในปริมาตรที่มากกว่าน้ำมันและถ่าน ดังนั้น จึงเหมาะที่จะใช้ใน ครัวเรือน พลังน้ำ เป็นพลังงานที่ได้มาจากแรงอัดดันของน้ำ ที่ปล่อยจากอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน น้ำที่ปล่อยไปนี้ จะได้รับการทดแทนทุกปี โดยฝนหรือการละลายของหิมะ แต่ในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยต้องสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ ต้องมีการอพยพสัตว์ป่า และชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ และสภาพแวดล้อม บริเวณดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป พลังงานแสงอาทิตย์ ได้มาจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ ซึ่งนำมาใช้เป็นพลังงานความร้อน และการสังเคราะห์แสง หรือโดยผ่านอุปกรณ์รับแสง เช่น เซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อเปลี่ยนเป็น พลังงานไฟฟ้าและความร้อน เพื่อนำไปใช้งานต่อไป พลังงานลม เกิดจากการเคลื่อนตัวของอากาศ ถ้าอากาศเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง จะทำให้มีพลังงานมาก ซึ่งสามารถนำมาใช้หมุนกังหันลม เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า พลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นการนำน้ำร้อนที่มีอยู่ใต้พื้นดิน มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการผลิตกระแสไฟฟ้า กลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาพลังงาน ความร้อนใต้พิภพ มาใช้ประโยชน์ อย่างเด่นชัดมักเป็นกลุ่มประเทศ ที่มีสภาพทางธรณีวิทยา เอื้ออำนวยต่อศักยภาพ ทางพลังงานความร้อนใต้พิภพ ซึ่งได้แก่ บริเวณที่เปลือกโลกมีการเคลื่อนไหว และมีแนวของภูเขาไฟอย่างต่อเนื่อง เช่น ประเทศอิตาลี ไอซ์แลนด์ สหรัฐอเมริกา (แถบตะวันตก) เม็กซิโก ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์อินโดนีเซีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น พลังงานนิวเคลียร์ เป็นพลังงานที่ได้มาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ ซึ่งเกิดจากการแตกตัวของ นิวเคลียสของธาตุเชื้อเพลิง เช่น ยูเรเนียม และให้พลังงานความร้อนมหาศาล จึงใช้ในการผลิตไฟฟ้า ปฏิกิริยานิวเคลียร์ สามารถขจัดปัญหา การปล่อยมลพิษทางอากาศ รวมทั้ง การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เป็นปัญหาหลักของเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ แต่ก็มีปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นที่อาจเกิดจาก การใช้สารรังสี ซึ่งหากมีเทคโนโลยีควบคุมที่ดี ก็จะป้องกันการรั่วไหลของสารรังสีได้ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องการกำจัดกากนิวเคลียร์ ซึ่งจะต้องมีมาตรการควบคุมดูแล ไม่ให้การกำจัดกาก ของเสียส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบ เนื่องจากสารเหล่านี้มีค่าทางรังสีสูงมาก และจะคงสภาพอยู่เป็นเวลานับพันๆ ล้านปี ตอนที่ 5 การใช้พลังงานและแหล่งสำรองของโลก ปัจจุบัน การใช้พลังงานของโลก ประกอบด้วย เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งได้แก่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและถ่านหินมีปริมาณรวมกันถึงร้อยละ 95 และอีกร้อยละ 2 มาจากพลังงานนิวเคลียร์ ส่วนที่เหลือร้อยละ 3 นำมาจากพลังงานประเภทอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวล พลังงานจากคลื่นในมหาสมุทร และพลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นต้น โดยปริมาณการใช้พลังงานของโลกในปี 2540 มีปริมาณเมื่อเทียบเท่า น้ำมันดิบ รวมทั้งสิ้น 9,371 พันล้านลิตร แบ่งเป็น พลังงานชนิดต่างๆ ดังนี้ พลังงานปฐมภูมิ (Primary Energy) หมายถึง พลังงานที่ยังไม่ผ่านการแปรรูปไปเป็นพลังงานอีกรูปแบบหนึ่ง เชื้อเพลิงที่ใช้แพร่หลาย ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ได้แก่ ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ พลังน้ำ ความร้อนใต้พิภพ พลังลม และอื่นๆ โดยในปี 2538 ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้ามากที่สุดในโลก คือ มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 43.1 รองลงมาได้แก่นิวเคลียร์ ร้อยละ 20.0 ก๊าซธรรมชาติ ร้อยละ 18.6 น้ำมัน ร้อยละ 10.2 และอื่นๆ อีกร้อยละ8.2 ในเอเซีย-แปซิฟิก และทวีปอเมริกาเหนือ ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงาน ไฟฟ้ามากกว่าครึ่งหนึ่งของเชื้อเพลิง ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งมากกว่าการใช้ในทวีป อื่นๆ ส่วนประเทศในตะวันออกกลาง ซึ่งมีน้ำมันของตนเอง และก๊าซธรรมชาติ จะใช้น้ำมันและ ก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงหลัก ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า การเลือกใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของประเทศต่างๆ มีปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน เช่นต้องเป็นเชื้อเพลิงที่มีราคาถูก มีปริมาณที่เพียงพอและแน่นอน นอกจากนี้จะต้องมีการกระจาย แหล่งเชื้อเพลิงหลายชนิด เพื่อกระจายความเสี่ยง และต้องเป็นเชื้อเพลิง ที่มีผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมน้อย ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่หลายประเทศ เลือกใช้ เพราะว่ามีราคาถูก ราคามีเสถียรภาพ และมีความมั่นคงในการจัดหา แม้ประเทศเหล่านั้นจะมีทรัพยากรพลังงาน ทั้งก๊าซธรรมชาติและ น้ำมันอยู่ในประเทศมากก็ตาม 1.ปริมาณสำรองเป็นข้อมูล ณ สิ้นปี 2540 2.สัดส่วนของการผลิตไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงแต่ละชนิด ในการผลิตไฟฟ้าใช้ข้อมูลปี 2538 แนวโน้มการใช้พลังงานของโลก จากการคาดการณ์ ของกระทรวงพลังงานสหรัฐอเมริกา คาดว่าน้ำมัน ยังคงมีสัดส่วนการใช้สูง เป็นอันดับหนึ่ง อันดับสอง คือ ก๊าซธรรมชาติ และรองลงมาคือ ถ่านหิน โดยคาดว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า หรือประมาณปี 2563 จะมีสัดส่วนการใช้น้ำมันร้อยละ 37 ก๊าซธรรมชาติร้อยละ 27 ถ่านหินร้อยละ 25 พลังงานหมุนเวียนร้อยละ 8 และพลังงาน นิวเคลียร์ร้อยละ 3 ซึ่งจะเห็นได้ว่า สัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติ และพลังงานหมุนเวียนจะเพิ่ม สูงขึ้นจากปี 2540 หากโลกมีการใช้พลังงาน ในระดับที่เป็นอยู่ และไม่มีการค้นพบเพิ่มเติมแล้ว คาดว่าโลก จะมีแหล่งสำรองน้ำมันใช้ไปได้ อีกประมาณ 42 ปี ก๊าซธรรมชาติอีกประมาณ 64 ปี และถ่านหินอีกประมาณ 220 ปี นับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นไป โดยแหล่งสำรองพลังงานดังกล่าว จะกระจายอยู่ ในภูมิภาคต่างๆ ของโลก และ ณ สิ้นปี 2540 มีปริมาณสำรองของพลังงานชนิดต่างๆ คงเหลือดังนี้ น้ำมัน มีปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว คงเหลือ 164,966 พันล้านลิตรเทียบเท่าน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ มีปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว คงเหลือ 146,050 พันล้านลิตรเทียบเท่าน้ำมันดิบ ถ่านหิน มีปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว คงเหลือ 584,018 พันล้านลิตรเทียบเท่าน้ำมันดิบ แหล่งสำรองพลังงานของโลก ณ สิ้นปี 2540 สามารถจำแนกแหล่งตามภูมิภาคต่างๆ ของโลกได้ดังนี้ ตอนที่ 6 การใช้พลังงานและแหล่งสำรองของไทย ในปี 2540 ประเทศไทยมีความต้องการใช้พลังงานปฐมภูมิโดยรวม 93 พันล้านลิตรเทียบเท่า น้ำมันดิบ โดยมีสัดส่วนการใช้น้ำมันสูงเป็นอันดับหนึ่ง ถึงร้อยละ 42 อันดับสองคือ พลังงานหมุนเวียนร้อยละ 26 รองลงมาคือ ก๊าซธรรมชาติร้อยละ 17 ลิกไนต์ร้อยละ 9 และถ่านหิน นำเข้าและซื้อไฟฟ้าสัดส่วนเท่ากันคือร้อยละ 3 จะเห็นได้ว่าสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน ของไทยค่อนข้างสูง พลังงานหมุนเวียนที่นิยมใช้กันมากได้แก่ ไม้ฟืน ถ่าน กากอ้อย และแกลบ โดยส่วนใหญ่ใช้เป็นเชื้อเพลิงหุงต้มของครัวเรือนในชนบทและในอุตสาหกรรมอาหาร สัดส่วนการใช้พลังงานปฐมภูมิ (Primary Energy) ของไทยในปี 2540 สัดส่วนการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย (Final Energy) ในสาขาการผลิตต่างๆ ของไทย แบ่งเป็น 4 สาขา ใหญ่ๆ คือ สาขาเกษตรกรรมสาขาอุตสาหกรรม สาขาที่อยู่อาศัยและธุรกิจ และสาขาคมนาคมขนส่ง โดยมีสัดส่วนการใช้พลังงานในสาขาต่างๆ ดังนี้ สัดส่วนการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย (Final Energy) แยกตามสาขาการผลิตในปี 2540 สาขาการผลิต พันล้านลิตรเทียบเท่าน้ำมันดิบ ร้อยละ คมนาคมขนส่ง 24.4 40 อุตสาหกรรม 19.8 32 ที่อยู่อาศัยและธุรกิจ 15.1 25 เกษตรกรรม 2.3 3 รวม 61.6 100 หมายเหตุ พลังงานขั้นสุดท้าย (Final Energy) หมายถึงพลังงานขั้นสุดท้ายที่ผู้บริโภคใช้ โดยไม่รวมเชื้อเพลิง ที่นำไปใช้ในการผลิตพลังงานทุติยภูมิ (Secondary Energy) ซึ่งหมายถึงการนำพลังงานปฐมภูมิมาผ่านการแปรรูป เช่น น้ำมันสำเร็จรูป และไฟฟ้า ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า รัฐได้มีการส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังลมพลังงานแสงอาทิตย์ พลังน้ำขนาดเล็ก และพลังงานจากกาก หรือเศษวัสดุเหลือใช้ในการเกษตร หรือ กากจากการผลิตผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือการเกษตร ขยะมูลฝอย ไม้จากการปลูกป่า เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า โดย กฟผ. ได้มีการประกาศรับซื้อไฟฟ้า จากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (Small Power Producers) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา ซึ่ง ณ ปัจจุบัน มีผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก ที่ได้รับการตอบรับซื้อไฟฟ้าแล้ว จำนวน 56 ราย คิดเป็นปริมาณไฟฟ้าที่เสนอขาย 2,366 เมกะวัตต์ ในจำนวนนี้เป็นผู้ผลิตรายเล็ก ที่ขายไฟฟ้าเข้าระบบแล้ว จำนวน 37 ราย เป็นปริมาณ ไฟฟ้าที่เสนอขาย 1,220 เมกะวัตต์ โดยแยกประเภทการใช้เชื้อเพลิงได้ดังนี้ นอกจากพลังน้ำ และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรแล้ว ยังมีการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนอื่นๆ ในการผลิตไฟฟ้าด้วย แต่ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นโครงการทดลอง เช่น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน แสงอาทิตย์ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม การผลิตไฟฟ้า จากพลังงานความร้อนใต้พิภพ และ โครงการสาธิตเซลล์เชื้อเพลิง เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบัน กฟผ. ได้ดำเนินโครงการทดลองที่ผลิต ไฟฟ้าและจ่ายไฟฟ้าขนานเข้าระบบจำหน่ายของ กฟภ. แล้ว ดังนี้ 1.โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ รวมกำลังผลิตประมาณ 70 กิโลวัตต์ โดยจ่ายไฟฟ้าร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กที่คลองช่องกล่ำ จังหวัดสระแก้ว ที่สถานีพลังงานทดแทน แหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต และที่สถานีพลังงานแสงอาทิตย์ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 2.โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม รวมกำลังผลิตประมาณ 192 กิโลวัตต์ ที่แหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต 3.โครงการไฟฟ้าสาธิตจากพลังงานความร้อนใต้พิภพ ขนาดกำลังผลิต 300 กิโลวัตต์ ที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 4.โครงการโรงไฟฟ้าสาธิตเซลล์เชื้อเพลิง ขนาดกำลังผลิต 50 กิโลวัตต์ โดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ที่โรงไฟฟ้าบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา 5.โครงการติดตั้งระบบทำน้ำร้อนแสงอาทิตย์ อุณหภูมิปานกลาง ด้วยระบบท่อรับความร้อนแสงอาทิตย์ ขนาด 50 กิโลวัตต์ เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ ในการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยโรงไฟฟ้าระบบ 2 วงจร ที่บริเวณโรงไฟฟ้าบางปะกง 6.โครงการสาธิตระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า จากเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน ในเขตกรุงเทพฯ รวม 10 หลังโดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์แบบผลึก ขนาด 2.25 กิโลวัตต์สำหรับบ้าน จำนวน 8 หลัง และใช้เซลล์แสงอาทิตย์แบบอะมอร์ฟัสซิลิกอน ขนาด 2.88 กิโลวัตต์ สำหรับบ้าน จำนวน 2 หลัง เพื่อพัฒนาสาธิตเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้า จากเซลล์แสงอาทิตย์ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้า จากเซลล์แสงอาทิตย์ใช้เองภายในบ้าน และขายไฟฟ้าส่วนเกินให้กับ กฟผ. ซึ่งโครงการสาธิตดังกล่าว จะช่วยสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรม การผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย พลังงานหมุนเวียน ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าดังกล่าวข้างต้น เป็นพลังงานที่สะอาด อย่างไรก็ตามการผลิตพลังงานไฟฟ้า จากพลังงานหมุนเวียนเหล่านี้ ยังไม่สามารถเป็นแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ได้ รวมทั้ง ราคายังสูงมากอีกด้วย การพัฒนาเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้า จากพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงที่ผ่านมา มีความก้าวหน้าไปมาก ต้นทุนลดลงมากเช่นกัน แต่ก็คงยังสูงอยู่เมื่อเทียบกับการผลิต ไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นคงต้องใช้ระยะเวลากว่า 10 ปีขึ้นไป ในการพัฒนา มาใช้ในเชิงพาณิชย์ ต้นทุนจึงจะต่ำลง จนสามารถแข่งขันกับพลังงานฟอสซิลได้ แหล่งสำรองพลังงานที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งมีการสำรวจและพิสูจน์แล้ว มีปริมาณสำรอง ไม่มากนักเมื่อเทียบกับปริมาณการใช้ของประเทศ จึงต้องมีการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ในอัตราร้อยละ 60 ของปริมาณความต้องการรวม โดย ณ สิ้นปี 2540 ประเทศมีแหล่งสำรอง พลังงานที่พิสูจน์แล้วคงเหลือ ดังนี้ น้ำมันดิบ มีปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว 17 พันล้านลิตร ซึ่งปริมาณสำรองที่มีอยู่ไม่ เพียงพอกับปริมาณความต้องการใช้ในแต่ละปี ก๊าซธรรมชาติ มีปริมาณสำรองพิสูจน์แล้ว 356 พันล้านลิตร ซึ่งหากปริมาณการใช้ไม่ เปลี่ยนแปลงและไม่มีการค้นพบเพิ่มเติมแล้ว คาดว่าจะใช้ไปได้อีกประมาณ 22 ปี ถ่านหิน (ลิกไนต์) ที่พัฒนาขึ้นมาใช้ประโยชน์แล้ว มีปริมาณสำรองที่ประเมินแล้วคงเหลือ 1,676 พันล้านลิตร แบ่งเป็นเหมืองของ กฟผ. 1,495 พันล้านลิตร และเหมืองเอกชน 181 พันล้านลิตร ซึ่งหากปริมาณการใช้ไม่เปลี่ยนแปลงและไม่มีการค้นพบเพิ่มเติมแล้ว คาดว่าจะใช้ไปได้อีกประมาณ 62 ปี แหล่งสำรองพลังงานของประเทศ กระจายอยู่ตามภาคต่างๆ ของประเทศและในอ่าวไทย โดยมีปริมาณสำรอง ณ สิ้นปี 2540 จำแนกตามชนิด และแหล่งต่างๆ ดังนี้ แหล่งก๊าซธรรมชาติ มีปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วตามแหล่งต่างๆ ดังนี้ อ่าวไทย 222.8 พันล้านลิตรเทียบเท่าน้ำมันดิบ โคราช 17.2 พันล้านลิตรเทียบเท่าน้ำมันดิบ ภาคกลาง 5.8 พันล้านลิตรเทียบเท่าน้ำมันดิบ พื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย 110.8 พันล้านลิตรเทียบเท่าน้ำมันดิบ รวม 356.6 พันล้านลิตรเทียบเท่าน้ำมันดิบ แหล่งน้ำมัน มีปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วตามแหล่งต่างๆ ดังนี้ อ่าวไทย 7.6 พันล้านลิตรเทียบเท่าน้ำมันดิบ ภาคกลาง 9.1 พันล้านลิตรเทียบเท่าน้ำมันดิบ ภาคเหนือ 0.3 พันล้านลิตรเทียบเท่าน้ำมันดิบ รวม 17.0 พันล้านลิตรเทียบเท่าน้ำมันดิบ แหล่งถ่านหิน (ลิกไนต์) ที่พัฒนาขึ้นมาใช้แล้ว มีปริมาณสำรอง คงเหลือ ตามแหล่งต่างๆ ดังนี้ ภาคเหนือ 1,544.9 พันล้านลิตรเทียบเท่าน้ำมันดิบ ภาคกลาง 1.0 พันล้านลิตรเทียบเท่าน้ำมันดิบ ภาคใต้ 130.3 พันล้านลิตรเทียบเท่าน้ำมันดิบ รวม 1,676.2 พันล้านลิตรเทียบเท่าน้ำมันดิบ ตอนที่ 7 การเลือกใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า การเลือกใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า จะต้องพิจารณาถึงศักยภาพ ของแหล่งเชื้อเพลิง ความมั่นคง ในการจัดหา ราคาของเชื้อเพลิง และปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ของเชื้อเพลิง รวมถึงประเภทของโรงไฟฟ้า ที่ต้องการในระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะการใช้ไฟฟ้า ในแต่ละช่วงเวลา ชนิดของเชื้อเพลิงที่ กฟผ. ได้พิจารณาเพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิง ในการผลิตไฟฟ้า ได้แก่ พลังน้ำน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ลิกไนต์ ถ่านหิน นิวเคลียร์ ออริมัลชั่น (Orimulsion) และการซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ยังมีพลังงานทดแทน ซึ่งได้แก่พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นต้น นอกจากการพิจารณาชนิดของเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าแล้ว จะต้องพิจารณาประเภทของโรงไฟฟ้า ประกอบด้วย เพราะโรงไฟฟ้าแต่ละประเภท มีความเหมาะสม ในการผลิตไฟฟ้าตามความต้องการ ในแต่ละช่วงเวลาที่ต่างกัน และโรงไฟฟ้า แต่ละประเภท ก็มีการใช้เชื้อเพลิง ที่แตกต่างกันด้วย โดย กฟผ. มีการเลือกใช้ประเภทโรงไฟฟ้า และชนิดของเชื้อเพลิงในแต่ละช่วงเวลา ดังนี้ โรงไฟฟ้าที่ผลิตพลังงานไฟฟ้า ตามความต้องการพื้นฐาน (Base Load Plant) เป็นโรงไฟฟ้าที่ต้องเดินเครื่องอยู่ ตลอดเวลา จึงเป็นโรงไฟฟ้า ที่ใช้เชื้อเพลิงราคาถูก เป็นลำดับแรก ได้แก่โรงไฟฟ้าพลังความร้อน (Thermal) ซึ่งใช้น้ำมันเตาหรือถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined Cycle) ซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงไฟฟ้าที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าช่วงที่มีความต้องการไฟฟ้าปานกลาง (Intermediate Plant) จะใช้โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined Cycle) ซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงและหากก๊าซธรรมชาติไม่มี จะต้องใช้ดีเซลแทนในกรณีที่เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ซึ่งจะทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงสูงขึ้น โรงไฟฟ้าที่ผลิตพลังงานไฟฟ้า ช่วงที่มีความต้องการไฟฟ้าสูงสุด (Peaking Plant) มีลักษณะของการเดินเครื่อง เป็นช่วงเวลาที่มีความต้องการไฟฟ้าสูงสุดเท่านั้น ได้แก่ โรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ ซึ่งใช้น้ำมันดีเซล เป็นเชื้อเพลิง โรงไฟฟ้าพลังน้ำ และโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ ลักษณะการใช้ไฟฟ้า ของผู้ใช้ไฟแต่ละประเภท จะมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งจะเป็น ตัวกำหนดประเภทของโรงไฟฟ้า ที่จะเดินเครื่องให้มีความสอดคล้อง กับความต้องการไฟฟ้า ในแต่ละช่วงเวลา ในปัจจุบันลักษณะการใช้ไฟฟ้า ของระบบ แบ่งออกได้เป็น 2 ช่วงเวลา คือช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ระหว่าง 9.00-22.00 น. และช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟฟ้าต่ำสุด ระหว่าง 22.00-9.00 น. โดยผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ธุรกิจขนาดเล็ก และธุรกิจ เฉพาะอย่าง (เช่น โรงแรม) จะใช้ไฟฟ้าสูงสุดในช่วงหัวค่ำ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีลักษณะ การใช้ไฟฟ้าค่อนข้างสม่ำเสมอ ส่วนธุรกิจขนาดใหญ่ จะใช้ไฟฟ้าสูงสุดในช่วงบ่าย ดังนั้น ในช่วงเวลา ที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด กฟผ. ก็จำเป็นต้องเดินเครื่องโรงไฟฟ้า ทั้งที่เป็นโรงไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าตาม ความต้องการพื้นฐาน โรงไฟฟ้า ที่ผลิตไฟฟ้า ช่วงที่มีความต้องการปานกลาง และโรงไฟฟ้าที่ผลิต ไฟฟ้า ช่วงที่มีความต้องการสูงสุดไปพร้อมกัน ปัจจัยที่สำคัญในการเลือกเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า คือ ต้นทุนที่ต่ำ โดยต้นทุน จะประกอบด้วย ต้นทุนค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้า ต้นทุนในการดำเนินงาน และต้นทุนเชื้อเพลิง โดยในปี 2541 ต้นทุนเชื้อเพลิงที่ถูกที่สุด ได้แก่ ลิกไนต์ รองลงมาได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันเตา และดีเซล ตอนที่ 8 ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงาน สภาพความเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อมส่วนใหญ่ อาจกล่าวได้ว่ามีสาเหตุมาจากการผลิตและการใช้พลังงานของมนุษย์แทบทั้งสิ้น ดังนั้นการเสาะแสวงหาทรัพยากรพลังงานมาเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานที่สูงขึ้นเรื่อยๆจึงควรระมัดระวังและพิจารณาให้รอบคอบก่อนนำมาใช้ นักสิ่งแวดล้อมได้กล่าวถึงผลกระทบจากการใช้ทรัพยากรพลังงาน ดังนี้ 1) ทำให้เกิดการเจ็บป่วย ล้มตาย 2) ทำให้สิ่งของและทรัพยากรธรรมชาติเสียหาย 3) ทำลายสภาพแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต 4) เกิดมลภาวะทั้งทางดิน น้ำและอากาศ ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากภาคผลิตไฟฟ้า พลังงานที่ใช้กันในแต่ละประเทศคือ พลังงานไฟฟ้า การผลิตพลังงานไฟฟ้ามีกระบวนการผลิตซึ่งใช้เชื้อเพลิงที่สำคัญๆดังนี้ ถ่านหิน ถ่านหิน เป็นแหล่งพลังงานที่มีมลพิษสูงโดยปล่อยธาตุคาร์บอนต่อหน่วยพลังงานมากกว่าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติปริมาณสูงการใช้ถ่านหินนำมาซึ่งผลกระทบมหาศาลด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพมนุษย์ และ สังคมซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากผลกระทบที่มีต่อชุมชนผู้ยากจนเป็นส่วนมากที่อาศัยอยู่ในและรอบๆ เหมือง และโรงไฟฟ้าถ่านหิน ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากภาคอุตสาหกรรม การผลิตและการใช้พลังงานในโรงงานก่อให้เกิดมลพิษและของเสียงปลดปล่อยออกมาซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสังคมและชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงกับโรงงานสรุปได้ดังนี้ น้ำทิ้ง ส่วนใหญ่ของการใช้น้ำในกิจการอุตสาหกรรม กว่าร้อยละ 80 เป็นการใช้เพื่อการหล่อเย็น นอกนั้นเป็นการใช้เพื่อกระบวนการผลิตและอื่นๆ น้ำหล่อเย็นควรมีอุณหภูมิต่ำ ความกระด้างต่ำ ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน ส่วนคุณภาพน้ำที่ต้องการสำหรับกระบวนการผลิตจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะพิเศษของแต่ละผลิตภัณฑ์และแต่ละกระบวนการ เช่น เหล็ก แมงกานีส คาร์บอนไดออกไซด์ จะทำความเสียหายให้กับกระบวนการผลิตกระดาษ น้ำที่มีปริมาณคลอรีนสูง เป็นอันตรายต่อการผลิตเหล็กหล่อเป็นต้น น้ำเสียจากกิจการอุตสาหกรรม (Industrial waste) หากเป็นน้ำหล่อเย็นจะทำให้อุณหภูมิของแหล่งน้ำรองรับสูงขึ้น ทำให้ออกซิเจนละลายในน้ำได้น้อยลง ส่วนน้ำเสียจากกระบวนการผลิตจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภท ขนาดของอุตสาหกรรม น้ำเสียจากกระบวนการอุตสาหกรรมบางประเภทสร้างปัญหารุนแรงมากเช่น อาจปล่อยคราบน้ำมันออกมากับน้ำเสีย มีโลหะหนักปนเปื้อน มีความเป็นกรดสูง เป็นต้น มลพิษทางอากาศ จากแหล่ง กำเนิดอุตสาหกรรม เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงและกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดผล กระทบต่อคุณภาพอากาศในบรรยากาศและอาจส่งผล กระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน โดยทั่วไปหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมมีอยู่ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ -เชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง -เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว ได้แก่ น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซล -เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว ได้แก่ น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซล -เชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซ LPG สารมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ฝุ่นละออง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ซึ่งพบว่ามีปริมาณการระบายออกสู่บรรยากาศเพิ่มมากขึ้นทุกปีตามปริมาณการใช้เชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น ตอนที่ 9 ภาวะมลพิษที่เกิดจากการผลิตและใช้ผลิตภัณฑ์จากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ ภาวะมลพิษที่เกิดจากการผลิตและใช้ผลิตภัณฑ์จากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ การนำเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ขึ้นมาใช้ ทำให้เกิดการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การกลั่นน้ำมันการแยกแก๊สธรรมชาติ การผลิตและการนำปิโตรเคมีภัณฑ์ไปใช้ การขนส่ง การทิ้งกากของเสียและขยะของสารที่ใช้แล้วอุตสาหกรรมเหล่านี้ล้วนมีผลโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้คุณภาพของอากาศ น้ำ และดินเปลี่ยนแปลงไป เกิดอันตรายทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสิ่งมีชีวิต ภาวะแวดล้อมที่ก่อให้เกิดอันตรายเรียกว่า ภาวะมลพิษ และเรียกสารที่ก่อให้เกิดภาวะมลพิษว่า สารมลพิษ ภาวะมลพิษด้านต่างๆ ที่สำคัญได้แก่ ภาวะมลพิษทางอากาศ ทางน้ำและทางดิน มลภาวะทางอากาศ มลพิษทางอากาศมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมหรือในเครื่องยนต์ของยานพาหนะ การเผาถ่านหินหรือเชื้อเพลิงที่มีกำมะถันและสารประกอบของกำมะถันเป็นองค์ประกอบ จะมีแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกิดขึ้น เมื่อปะปนมากับน้ำฝนทำให้เกิดเป็นฝนกรด ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ ทำให้สีใบไม้ซีดจางและสังเคราะห์แสงไม่ได้ กัดกร่อนโลหะและอาคารบ้านเรือน ถ้าร่างกายได้รับแก๊สนี้จะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยเรื้อรัง โลหิตจาง และเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจและปอด การเผาไหม้เชื้อเพลิงปิโตรเลียมอย่างไม่สมบูรณ์จะได้เขม่าและออกไซด์ของคาร์บอนซึ่งได้แก่ CO2 และ CO นอกจากนี้ยังเกิดแก๊สอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น SO2NO2 และ H2S รวมทั้งเถ้าถ่านที่มีโลหะปริมาณน้อยมากเป็นองค์ประกอบ CO2 จะทำหน้าที่คล้ายกับผ้าห่มที่ห่อหุ้มโลกและกักเก็บความร้อนเอาไว้ ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นที่เรียกว่าเกิดภาวะเรือนกระจก ซึ่งส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างมาก CO2 ในบรรยากาศสามารถอยู่ได้นานเป็นสิบถึงร้อยปีโดยไม่สูญสลาย ถ้าการเผาไหม้เกิดขึ้นมาก CO2 ก็จะไปสะสมอยู่ในบรรยากาศมากขึ้น ในบริเวณที่มียวดยานสัญจรไปมาอย่างคับคั่งหรือการจราจรติดขัดจะมีปริมาณของแก๊ส CO สูง แก๊สชนิดนี้เป็นแก๊สพิษที่ไม่มีสีและกลิ่น จะฟุ้งกระจายปะปนอยู่ในอากาศ เมื่อหายใจเอาแก๊ส CO เข้าไป จะรวมกับฮีโมโกลบินในเลือดเกิดเป็นคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถรับออกซิเจนได้ตามปกติ จะเกิดอาการเวียนศีรษะ หายใจอึดอัด คลื่นไส้อาเจียน ถ้าร่างกายได้รับเข้าไปมากทันทีอาจทำให้เสียชีวิตได้ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ต่างๆ มีไฮโดรคาร์บอนที่เผาไหม้ไม่หมดออกมาด้วย โดยเฉพาะไฮโดรคาร์บอนที่มีโมเลกุลมีพันธะคู่จะรวมตัวกับออกซิเจนหรือแก๊สโอโซน เกิดเป็นสารประกอบแอลดีไฮด์ซึ่งมีกลิ่นเหม็นทำให้เกิดอาการระคายเคืองเมื่อสูดดม นอกจากนี้ไฮโดรคาร์บอนยังอาจเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจนและไนโตรเจนไดออกไซด์ เกิดสารประกอบเปอร์ออกซีแอซีติลไนเตรต (PAN) ซึ่งเป็นพิษทำให้เกิดการระคายเคืองต่อดวงตาและระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้ยังมีผลต่อพืชโดยทำลายเนื้อเยื่อที่ใบอีกด้วย มลภาวะทางน้ำ สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำคือ การใช้ปิโตรเคมีภัณฑ์ เช่น ปุ๋ยเคมี สารปราบศัตรูพืชและผงซักฟอก แม้ว่าปุ๋ยเคมีและผงซักฟอกจะไม่เป็นพิษโดยตรงต่อมนุษย์แต่ก็เป็นอาหารที่ดีของพืชน้ำบางชนิด จากการศึกษาวิจัยน้ำจากแหล่งชุมชนพบว่ามีปริมาณฟอสเฟตสูงมาก ทั้งนี้เป็นเพราะน้ำทิ้งจากอาคารบ้านเรือนมีฟอสเฟตในผงซักฟอกปนอยู่ด้วย สารดังกล่าวจะกระตุ้นการเจริญงอกงามของพืชน้ำได้ดีและรวดเร็ว เมื่อพืชน้ำตาย จุลินทรีย์ในน้ำจะต้องใช้ออกซิเจนจำนวนมากในการย่อยสลายซากพืชเหล่านั้นเป็นเหตุให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง จึงทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย สารเคมีและวัตถุดิบมีพิษที่ใช้ในการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตในการเพาะปลูก สารกำจัดแมลงและกำจัดวัชพืช เช่น สารประกอบไนไตรต์และไนเตรต สารประกอบคลอริเนเตดไฮโดรคาร์บอน ออร์แกโนฟอสเฟต คาร์บาเมต เมื่อตกค้างอยู่ในอากาศหรือดินก็จะถูกน้ำชะล้างลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้แหล่งน้ำในบริเวณเกษตรกรรม หรือสายน้ำที่ไหลผ่านมีสารพิษสะสมหรือปะปนอยู่การจับสัตว์น้ำจากแหล่งน้ำในบริเวณนั้นมาบริโภคก็จะมีโอกาสได้รับพิษจากสารดังกล่าวด้วย น้ำมันเป็นสารอีกชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำเมื่อน้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเลหรือแม่น้ำลำคลองจะเกิดคราบน้ำมันลอยอยู่ที่ผิวน้ำ คราบน้ำมันจะเป็นแผ่นฟิล์มปกคลุมผิวน้ำทำให้ออกซิเจนในอากาศไม่สามารถละลายลงไปในน้ำได้ ทำให้น้ำขาดออกซิเจน สัตว์น้ำที่อยู่ในแหล่งน้ำบริเวณนั้นๆ อาจตายได้ ตามปกติน้ำในธรรมชาติจะมีออกซิเจนละลายอยู่ประมาณ 5 - 7 ส่วนในล้านส่วน ปริมาณออกซิเจนในน้ำหรือ DO (Dissolved Oxygen) จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์น้ำการบ่งชี้คุณภาพน้ำอาจทำ มลภาวะทางดินดินเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งของสิ่งมีชีวิต จึงจำเป็นต้องรักษาดินให้ใช้ประโยชน์ได้นานที่สุด การกำจัดสารพิษด้วยวิธีการฝังดินรวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลต่างๆ โดยการทิ้งบนดิน จะเป็นสาเหตุทำให้ดินมีสภาพไม่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก และก่อให้เกิดภาวะมลพิษทางดิน ปุ๋ยเคมีและสารเคมีที่ใช้ปราบศัตรูพืชก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะมลพิษทางดินได้ เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ยางรถยนต์ พลาสติก บรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้สลายตัวยาก มีความทนทานต่อน้ำแสงแดด และอากาศ จึงตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมทั้งในดินและน้ำ นักวิทยาศาสตร์จึงคิดค้นวิธีกำจัดพลาสติกที่ใช้แล้ว รวมทั้งค้นคว้าเพื่อสังเคราะห์พลาสติกชนิดใหม่ๆ ที่สามารถใช้งานได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นจะเสื่อมสลายไป หรือสังเคราะห์พลาสติกที่จุลินทรีย์สามารถย่อยสลายได้ ในปัจจุบันมีวิธีกำจัดพลาสติกที่ใช้แล้วหลายวิธีดังนี้ ก. ใช้ปฏิกิริยาชีวเคมี เนื่องจากพลาสติกส่วนใหญ่มีความทนทานต่อการย่อยสลายของเอนไซม์จากจุลินทรีย์นักวิทยาศาสตร์จึงได้คิดค้นพลาสติกที่มีโครงสร้างทางเคมีที่สามารถถูกทำลายได้ด้วยเอนไซม์ของจุลินทรีย์พวกแบคทีเรียและเชื้อรา ตัวอย่างเช่น เซลลูโลสซานเทค และเซลลูโลสแอซีเตต หรือการผสมแป้งข้าวโพดในพอลิเอทิลีนแล้วนำมาผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ ข. ใช้สมบัติการละลายในน้ำ พลาสติกบางชนิด เช่น พอลิไวนิลแอลกอฮอล์สามารถละลายในน้ำได้เมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีความชื้นสูง หรืออยู่ในน้ำซึ่งเป็นตัวทำละลายในธรรมชาติ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นพลาสติกจะละลายได้เพิ่มขึ้น ค. ใช้แสงแดด นักเคมีชาวแคนาดาพบว่าการเติมหมู่ฟังก์ชันที่ไวต่อแสงอัลตราไวโอเลตเข้าไปในโซ่พอลิเมอร์ เมื่อพลาสติกถูกแสงแดดจะเกิดสารที่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศทำให้พลาสติกเสื่อมคุณสมบัติ เปราะแตก และหักง่าย ง. ใช้ความร้อน พลาสติกพวกที่เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน เมื่อได้รับความร้อนถึงระดับหนึ่งจะสลายตัวเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก ในที่สุดจะได้คาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำหรือสารอื่นซึ่งเป็นพิษปนออกมาด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพลาสติก เช่น พอลิเอทิลีนติดไฟง่าย พอลิสไตรีนเผาไหม้ให้ควันดำและเขม่ามาก ส่วนพอลิไวนิลคลอไรด์ติดไฟยากต้องให้ความร้อนตลอดเวลาและมีแก๊สไฮโดรเจนคลอไรด์ซึ่งเป็นแก๊สพิษเกิดขึ้นด้วย การเผาเป็นวิธีกำจัดพลาสติกที่รวดเร็ว แต่มีข้อเสียคืออาจเกิดสารพิษที่ก่อให้เกิดภาวะมลพิษทางอากาศได้ จ. นำกลับมาใช้ใหม่ พลาสติกประเภทเทอร์มอพลาสติกสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยล้างทำความสะอาดแล้วนำเข้าเครื่องตัดเป็นชิ้นเล็กก่อนเข้าเครื่องอัดเม็ดเม็ดพลาสติกที่ได้จะสามารถนำไปหลอมเป็นชิ้นงานได้อีก เช่น นำไปใช้ทำโฟมกันกระแทกในการบรรจุผลิตภัณฑ์ ผสมในซีเมนต์เพื่อให้รับแรงกระแทก ใช้ถมที่ดินชายฝั่งทะเลแล้วอัดให้แน่นเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย หรืออาจนำมาอัดให้แน่นใช้ทำเป็นอิฐหรือวัสดุก่อสร้างซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมในแง่เศรษฐกิจและเป็นการสงวนทรัพยากร 10.มลพิษของพลังงานทดแทนต่อสิ่งแวดล้อม การนำเอาพลังงานทดแทนมาใช้แทนพลังงานจากปิโตรเลียม จะก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมดังต่อไปนี้ พลังงานทดแทนประเภทหมุนเวียนเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ , พลังงานน้ำ , พลังงานลม จำเป็นจะต้องใช้พื้นที่ปริมาณกว้าง สำหรับก่อสร้างสถานที่สำหรับผลิตพลังงานดังกล่าว จะมีผลกระทบต่อพื้นที่เพาะปลูก กระทบต่อการตัดไม้ทำลายป่า สัตว์ป่า และที่อยู่อาศัยของประชาชนบริเวณดังกล่าวได้ พลังงานทดแทนประเภทใช้แล้วหมดไป เช่น ถ่านหิน จะมีผลต่อมลพิษทางอากาศ ก่อให้เกิดก๊าซ SO2 , NO2 ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจก ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้ ส่วนก๊าซธรรมชาติจะมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ทางทะเลบริเวณที่ขุดเจาะก๊าซธรรมชาติดังกล่าว ส่วนปัญหาทางด้านมลพิษทางอากาศจะมีน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับถ่านหินและน้ำมัน ตอนที่ 11 วิธีการอนุรักษ์พลังงาน มีหลากหลายวิธีสรุปได้ดังนี้ 1.ในการเดินทาง 1.1 ใกล้ๆ...ไม่ไกลจนเกินไป...ควรเดินไป...ไม่ใช้รถ...หรือจะใช้รถจักรยานแทนก็ได้ เป็นการออกกำลังกายไปในตัว 1.2 ควรวางแผนเส้นทางก่อนเดินทาง เพื่อเลือกทางที่ใกล้ที่สุด หรือใช้เวลาน้อยที่สุด ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานหรือลดความสิ้นเปลือง ของน้ำมันเชื้อเพลิงต่อวันลงได้ รวมทั้งลดเวลาในการเดินทาง 1.3 หากที่พักของเราใกล้กับที่ทำงานในระยะทางที่สามารถใช้รถโดยสารประจำทางได้สะดวก ก็ควรหันมาใช้รถประจำทางให้มากขึ้น 1.4 ถ้าต้องการเดินทางจากที่พักถึงที่ทำงานเป็นระยะทางไกลๆทุกวัน ควรจะใช้เส้นทางลัด หรือเส้นทางที่มีสัญญาณไฟจราจรหรือทางแยก น้อยที่สุด 1.5 หลีกเลี่ยงเวลาทางเดินทางระยะไกล เช่น ไปต่างจังหวัด หากไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ส่วนบุคคลแล้ว ควรหันมาใช้รถโดยสารประจำทาง หรือ รถไฟ 1.6 หมั่นตรวจสอบสภาพรถตลอดเวลา และก่อนเดินทางไกล 2. การอุตสาหกรรมพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ได้กำหนดไว้ก็คือ โรงงานควบคุมและอาคารควบคุม โดยที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้มีมาตรการผลักดัน แนะนำ ส่งเสริม กระตุ้นเพื่อให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานอย่างเป็นระบบโดยรัฐบาลได้ให้การสนับสนุนทางเทคนิคและวิชาการทางเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งให้การสนับสนุนทางด้านการเงินในการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายจะต้องจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน เช่น บุคลากร ข้อมูล แผนงาน เป็นต้น เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์พลังงาน โดยกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานนี้ยังเป็นกรอบและแนวทางปฎิบัติในการปรับปรุงคุณภาพของพลังงานให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานฉบับนี้ยังได้ระบุให้เจ้าของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประจำโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมซึ่งมีคุณสมบัติตามที่พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ได้กำหนดไว้เป็นผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน และให้ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1.บำรุงรักษาและตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานเป็นระยะๆ 2.ปรับปรุงวิธีการใช้พลังงานให้เป็นไปตามหลักการอนุรักษ์พลังงาน 3.รับรองข้อมูลที่ส่งให้แก่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน 4.ควบคุมดูแลการบันทึกข้อมูลการใช้พลังงาน การติดตั้งเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มีผลต่อการใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้และรับรองความถูกต้องของการบันทึกดังกล่าว 5.ช่วยเจ้าของโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมกำหนดเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานเพื่อส่งให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง 6.รับรองผลการตรวจสอบหรือวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานของโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง 7.ช่วยเจ้าของโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมปฏิบัติตามคำแนะนำของอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน 3.บ้านเรือนที่อยู่อาศัย การใช้พลังงานในบ้านเรือนที่อยู่อาศัยควรปฏิบัติดังนี้ 3.1 การใช้น้ำ ใช้หัวก็อกที่มีตัวลดอัตราการไหลของน้ำให้อ่อนลง ปิดก็อกน้ำในระหว่างแปรงฟัน สระผม หรือโกนหนวด ใช้ไม้กวาดในการกวาดพื้นแทนการใช้น้ำฉีดเพื่อทำความสะอาด ล้างรถด้วยน้ำถังและฟองน้ำ แทนการใช้สายยางฉีดน้ำ ใช้น้ำจากการซักล้าง หรือถูพื้น เพื่อรดน้ำต้นไม้แทนการใช้น้ำประปา โดยตรง 3.2 เลือกซื้อแต่อุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานเช่น เลือกซื้ออุปกรณ์ที่มีฉลากเบอร์ 5 เป็นต้น 3.3 การใช้เตารีดไฟฟ้า ควรตั้งอุณหภูมิ (ความร้อน) ให้เหมาะสมกับชนิดผ้าและแบ่งผ้าชนิดเดียวกันไว้ด้วย กัน เพื่อหลีกเลี่ยงการปรับเปลี่ยนการตั้งอุณหภูมิบ่อยครั้ง ควรรวบรวมผ้าไว้รีดคราวละมากๆ และพรมน้ำให้หมดทุกตัว ก่อนจะรีดผ้า อย่าพรมน้ำจนเปียก เพราะจะทำให้ต้องรีดผ้านานกว่าเดิมสิ้นเปลืองไฟฟ้า ก่อนรีดผ้าเสร็จควรดึงปลั๊กก่อน เนื่องจากยังมีความร้อนเหลืออยู่พอที่จะรีดต่อไปได้ เวลาตากผ้าควรจัดรูปทรงผ้าและดึงให้ตึง เพื่อให้เสื้อผ้ายับน้อยที่สุด จะทำให้รีดง่าย และประหยัดไฟฟ้า 3.4 การใช้โทรทัศน์แหล่ง โทรทัศน์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้เสียค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น โทรทัศน์ที่มีระบบรีโมทคอนโทรลจะใช้ไฟฟ้ามากกว่าระบบทั่วไปในขนาดเดียวกัน เพราะมีวงจรเพิ่มและใช้ไฟฟ้าตลอดเวลาแม้ว่าจะไม่ใช้เครื่อง ไม่ควรเสียบปลั๊กทิ้งไว้ ถ้าเสียบปลั๊กทิ้งไว้จะใช้ไฟฟ้าตลอดเวลา โทรทัศน์ขาวดำจะใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าโทรทัศน์สี ปิดเมื่อไม่มีคนดู ควรตั้งเวลาปิดโทรทัศน์โดยอัตโนมัติ สำหรับเครื่องที่มีระบบตั้งเวลาปิด เพราะ จะช่วยประหยัดไฟสำหรับผู้ที่มักจะนอนไม่หลับหน้าโทรทัศน์หรือลืมปิดเครื่อง 3.5 การใช้เครื่องซักผ้า แช่ผ้าก่อนเขาเครื่อง ทำให้ง่ายต่อการซักผ้า ผ้าที่ซักให้เป็นไปตามพิกัดของเครื่อง อย่าใส่ผ้ามากเกินกำลังของเครื่อง หรือซักจำนวนน้อยเกินไป ไม่ควรใช้เครื่องซักผ้าแบบที่มีเครื่องอบแห้งด้วยไฟฟ้าในตัว เพราะสิ้นเปลืองไฟฟ้า มาก ควรตากผ้ากับแสงแดด หรือในที่มีลมโกรก วิธีประหยัดน้ำมัน 1.ตรวจตราลมยางเป็นประจำ เพราะยางที่อ่อนเกินไปนั้น ทำให้ สิ้นเปลืองน้ำมันมากกว่ายางที่มีปริมาณลมยางตามที่มาตรฐาน กำหนด 2.สับเปลี่ยนยาง ตรวจตั้งศูนย์ล้อตามกำหนด จะช่วยประหยัดน้ำมันเพิ่มขึ้นอีกมาก 3.ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งเมื่อต้องจอดรถนานๆ แค่จอดรถติดเครื่องทิ้งไว้ 10 นาที ก็เสียน้ำมันฟรีๆ 200 ซีซี 4.ไม่ควรติดเครื่องทิ้งไว้เมื่อจอดรถ ให้ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งที่ขึ้นของ ลงของ หรือคอยคน เพราะการติดเครื่องทิ้งไว้ เปลืองน้ำมันและสร้างมลพิษอีกด้วย 5.ไม่ออกรถกระชากดังเอี๊ยด การออกรถกระชาก 10 ครั้ง สูญเสียน้ำมันไปเปล่าๆ ถึง 100 ซีซี น้ำมันจำนวนนี้รถสามารถวิ่งได้ไกล700 เมตร 6.ไม่เร่งเครื่องยนต์ตอนเกียร์ว่างอย่างที่เราเรียกกันติดปากว่าเบิ้ลเครื่องยนต์ การกระทำดังกล่าว 10 ครั้ง สูญเสียน้ำมันถึง 50 ซีซี ปริมาณน้ำมันขนาดนี้รถวิ่งไปได้ตั้ง 350 เมตร 7.ตรวจตั้งเครื่องยนต์ตามกำหนด ควรตรวจเช็คเครื่องยนต์สม่ำเสมอ เช่น ทำความสะอาดระบบไฟจุดระเบิด เปลี่ยนหัวคอนเดนเซอร์ ตั้งไฟแก่อ่อนให้พอดี จะช่วยประหยัดน้ำมันได้ถึง 10% 8.ไม่ต้องอุ่นเครื่อง หากออกรถและขับช้าๆ สัก 1-2 กม. แรกเครื่องยนต์จะอุ่นเอง ไม่ต้องเปลืองน้ำมันไปกับการอุ่นเครื่อง 9.ไม่ควรบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัด เพราะเครื่องยนต์จะทำงานตามน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หากบรรทุกหนักมาก จะทำให้เปลืองน้ำมันและสึกหรอสูง 10.ใช้ระบบการใช้รถร่วมกัน หรือคาร์พูล (Car pool) ไปไหนมาไหน ที่หมายเดียวกัน ทางผ่านหรือใกล้เคียงกัน ควรใช้รถคันเดียวกัน 11.เดินทางเท่าที่จำเป็นจริงๆ เพื่อประหยัดน้ำมัน บางครั้งเรื่องบางเรื่องอาจจะติดต่อกันทางโทรศัพท์ก็ได้ ประหยัดน้ำมันประหยัดเวลา 12.ไปซื้อของหรือไปธุระใกล้บ้านหรือใกล้ๆ ที่ทำงาน อาจจะเดินหรือใช้จักรยานบ้าง ไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ทุกครั้ง เป็นการออกกำลังกายและประหยัดน้ำมันด้วย 13.ก่อนไปพบใคร ควรโทรศัพท์ไปถามก่อนว่าเขาอยู่หรือไม่ จะได้ไม่เสียเที่ยว ไม่เสียเวลา ไม่เสียน้ำมันไปโดยเปล่าประโยชน์ 14.สอบถามเส้นทางที่จะไปให้แน่ชัด หรือศึกษาแผนที่ให้ดีจะได้ไม่หลง ไม่เสียเวลา ไม่เปลืองน้ำมันในการวนหา 15.ควรใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์ อินเตอร์เน็ท หรือใช้บริการส่งเอกสาร แทนการเดินทางด้วยตัวเอง เพื่อประหยัดน้ำมัน 16.ไม่ควรเดินทางโดยไม่ได้วางแผนการเดินทาง ควรกำหนดเส้นทาง และช่วงเวลาการเดินทางที่เหมาะสมเพื่อประหยัดน้ำมัน 17.หมั่นศึกษาเส้นทางลัดเข้าไว้ ช่วยให้ไม่ต้องเดินทางยาวนานไม่ต้องเผชิญปัญหาจราจร ช่วยประหยัดทั้งเวลาและประหยัดน้ำมัน 18.ควรบับรถด้วยความเร็วคงที่ เลือกขับที่ความเร็ว 70-80กิโลเมตรต่อชั่วโมงที่ 2,000-2,500 รอบเครื่องยนต์ ความเร็วระดับนี้ ประหยัดน้ำมันได้มากกว่า 19.ไม่ควรขับรถลากเกียร์ เพราการลากเกียร์ต่ำนานๆ จะทำให้เครื่องยนต์หมุนรอบสูงกินน้ำมันมาก และเครื่องยนต์ร้อนจัดสึกหรอง่าย 20.ไม่ติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งที่จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนักขึ้นเช่น การทำให้เกิดการต้านลมขณะวิ่ง หรือทำให้เครื่องยนต์ ไม่สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี 21.ไม่ควรใช้น้ำมันเบนซินที่ออกเทนสูงเกินความจำเป็นของเครื่องยนต์ เพราะเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานโดยเปล่าประโยชน์ 22.หมั่นเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ไส้กรองน้ำมันเครื่อง ไส้กรองอากาศตามระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อประหยัดน้ำมัน 23.สำหรับเครื่องยนต์แบบเบนซิน ควรเลือกเติมน้ำมันเบนซินให้ถูกชนิด ถูกประเภท โดยเลือกตามค่าออกเทนที่เหมาะสมกับรถแต่ละยี่ห้อ (สังเกตจากฝาปิดถังน้ำมันด้านใน หรือรับคู่มือที่ปั้มน้ำมันใกล้บ้าน 24.ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศตลอดเวลา ยามเช้าๆเปิดกระจกรับความเย็นจากลมธรรมชาติบ้างก็สดชื่นดี ประหยัดน้ำมันได้ด้วย 25.ไม่ควรเร่งเครื่องปรับอากาศในรถอย่างเต็มที่จนเกินความจำเป็นไม่เปิดแอร์แรงๆ จนรู้สึกหนาวเกินไป เพราะสิ้นเปลืองพลังงาน วิธีประหยัดไฟฟ้า 26.ปิดสวิตช์ไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเลิกใช้งาน สร้างให้เป็นนิสัยในการดับไฟทุกครั้งที่ออกจากห้อง 27.เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน ดูฉลากแสดงประสิทธิภาพให้แน่ใจทุกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ หากมีอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 ต้องเลือกใช้เบอร์ 5 28.ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งที่จะไม่อยู่ในห้องเกิน 1 ชั่วโมงสำหรับเครื่องปรับอากาศทั่วไปและ 30 นาที สำหรับเครื่องปรับอากาศเบอร์5 29.หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศของเครื่องปรับอากาศบ่อยๆ เพื่อลดการเปลืองไฟในการทำงานของเครื่องปรับอากาศ 30.ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่กำลังสบาย อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1 องศา ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10 31.ไม่ควรปล่อยให้มีความเย็นรั่วไหลจากห้องที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ตรวจสอบและอุดรอยรั่วตามผนัง ฝ้าเพดาน ประตูช่องแสง และปิดประตูห้องทุกครั้งที่เปิดเครื่องปรับอากาศ 32.ลดและหลีกเลี่ยงการเก็บเอกสาร หรือวัสดุอื่นใดที่ไม่จำเป็นต้องใช้งานในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ เพื่อลดการสูญเสีย และใช้พลังงานในการปรับอากาศภายในอาคาร 33.ติดตั้งฉนวนกันความร้อนโดยรอบห้องที่มีการปรับอากาศเพื่อลดการสูญเสียพลังงานจากการถ่ายเทความร้อนเข้าภายในอาคาร 34.ใช้มูลี่กันสาดป้องกันแสงแดดส่องกระทบตัวอาคาร และบุฉนวนกันความร้อนตามหลังคาและฝาผนังเพื่อไม่ให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักเกินไป 35.หลีกเลี่ยงการสูญเสียพลังงานจากการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ห้องปรับอากาศ ติดตั้งและใช้อุปกรณ์ควบคุมการเปิด-ปิดประตูในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ 36.ควรปลูกต้นไม้รอบๆ อาคาร เพราะต้นไม้ขนาดใหญ่ 1 ต้นให้ความเย็นเท่ากับเครื่องปรับอากาศ 1 ตัน หรือให้ความเย็นประมาณ 12,000 บีทียู 37.ควรปลูกต้นไม้เพื่อช่วยบังแดดข้างบ้านหรือเหนือหลังคา เพื่อเครื่องปรับอากาศจะไม่ต้องทำงานหนักเกินไป 38.ปลูกพืชคลุมดิน เพื่อช่วยลดความร้อนและเพิ่มความชื้นให้กับดิน จะทำให้บ้านเย็น ไม่จำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศเย็นจนเกินไป 39.ในสำนักงาน ให้ปิดไฟ ปิดเครื่องปรับอากาศ และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น ในช่วงเวลา 12.00-13.00 น. จะสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ 40.ไม่จำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศก่อนเวลาเริ่มงาน และควรปิดเครื่องปรับอากาศก่อนเวลาเลิกใช้งานเล็กน้อย เพื่อประหยัดไฟ 41.เลือกซื้อพัดลมที่มีเครื่องหมายมาตรฐานรับรอง เพราะพัดลมที่ไม่ได้คุณภาพ มักเสียง่าย ทำให้สิ้นเปลือง 42.หากอากาศไม่ร้อนเกินไป ควรเปิดพัดลมแทนเครื่องปรับอากาศ จะช่วยประหยัดไฟ ประหยัดเงินได้มากทีเดียว 43.ใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน ใช้หลอดผอมจอมประหยัดแทนหลอดอ้วน ใช้หลอดตะเกียบแทนหลอดไส้ หรือใช้หลอดคอมแพคท์ฟลูออเรสเซนต์ 44.ควรใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟ หรือบัลลาสต์อิเล็กโทรนิกคู่กับหลอดผอมจอมประหยัด จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประหยัดไฟได้อีกมาก 45.ควรใช้โคมไฟแบบมีแผ่นสะท้อนแสงในห้องต่างๆ เพื่อช่วยให้แสงสว่างจากหลอดไฟ กระจายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้หลอดไฟฟ้าวัตต์สูง ช่วยประหยัดพลังงาน 46.หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟที่บ้าน เพราะจะช่วยเพิ่มแสงสว่าง โดยไม่ต้องใช้พลังงานมากขึ้น ควรทำอย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี 47.ใช้หลอดไฟที่มีวัตต์ต่ำ สำหรับบริเวณที่จำเป็นต้องเปิดทิ้งไว้ทั้งคืน ไม่ว่าจะเป็นในบ้านหรือข้างนอก เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า 48.ควรตั้งโคมไฟที่โต๊ะทำงาน หรือติดตั้งไฟเฉพาะจุด แทนการเปิดไฟทั้งห้องเพื่อทำงาน จะประหยัดไฟลงไปได้มาก 49.ควรใช้สีอ่อนตกแต่งอาคาร ทาผนังนอกอาคารเพื่อการสะท้อนแสงที่ดี และทาภายในอาคารเพื่อทำให้ห้องสว่างได้มากกว่า 50.ใช้แสงสว่างจากธรรมชาติให้มากที่สุด เช่น ติดตั้งกระจกหรือติดฟิล์มที่มีคุณสมบัติป้องกันความร้อน แต่ยอมให้แสงผ่านเข้าได้เพื่อลดการใช้พลังงานเพื่อแสงสว่างภายในอาคาร 51.ถอดหลอดไฟออกครึ่งหนึ่งในบริเวณที่มีความต้องการใช้แสงสว่างน้อย หรือบริเวณที่มีแสงสว่างพอเพียงแล้ว 52.ปิดตู้เย็นให้สนิท ทำความสะอาดภายในตู้เย็น และแผ่นระบายความร้อนหลังตู้เย็นสม่ำเสมอ เพื่อให้ตู้เย็นไม่ต้องทำงานหนักและเปลืองไฟ 53.อย่าเปิดตู้เย็นบ่อย อย่านำของร้อนเข้าแช่ในตู้เย็น เพราะจะทำให้ตู้เย็นทำงานเพิ่มขึ้น กินไฟมากขึ้น 54.ตรวจสอบขอบยางประตูของตู้เย็นไม่ให้เสื่อมสภาพ เพราะจะทำให้ความเย็นรั่วออกมาได้ ทำให้สิ้นเปลืองไฟมากกว่าที่จำเป็น 55.เลือกขนาดตู้เย็นให้เหมาะสมกับขนาดครอบครัว อย่าใช้ตู้เย็นใหญ่เกินความจำเป็นเพราะกินไฟมากเกินไป และควรตั้งตู้เย็นไว้ห่างจากผนังบ้าน 15 ซม. 56.ควรละลายน้ำแข็งในตู้เย็นสม่ำเสมอ การปล่อยให้น้ำแข็งจับหนาเกินไป จะทำให้เครื่องต้องทำงานหนัก ทำให้กินไฟมาก 57.เลือกซื้อตู้เย็นประตูเดียว เนื่องจากตู้เย็น 2 ประตู จะกินไฟมากกว่าตู้เย็นประตูเดียวที่มีขนาดเท่ากัน เพราะต้องใช้ท่อน้ำยาทำความเย็นที่ยาวกว่า และใช้คอมเพรสเซอร์ขนาดใหญ่กว่า 58.ควรตั้งสวิตช์ควบคุมอุณหภูมิของตู้เย็นให้เหมาะสม การตั้งที่ตัวเลขต่ำเกินไป อุณหภูมิจะเย็นน้อย ถ้าตั้งที่ตัวเลขสูงเกินไปจะเย็นมากเพื่อให้ประหยัดพลังงานควรตั้งที่เลขต่ำที่มีอุณหภูมิพอเหมาะ 59.ไม่ควรพรมน้ำจนแฉะเวลารีดผ้า เพราะต้องใช้ความร้อนในการรีดมากขึ้น เสียพลังงานมากขึ้น เสียค่าไฟเพิ่มขึ้น 60.ดึงปลั๊กออกก่อนการรีดเสื้อผ้าเสร็จ เพราะความร้อนที่เหลือในเตารีด ยังสามารถรีดต่อได้จนกระทั่งเสร็จ ช่วยประหยัดไฟฟ้า 61.เสียบปลั๊กครั้งเดียว ต้องรีดเสื้อให้เสร็จ ไม่ควรเสียบและถอดปลั๊กเตารีดบ่อยๆ เพราะการทำให้เตารีดร้อนแต่ละครั้งกินไฟมาก 62.ลด ละ เลี่ยง การใส่เสื้อสูท เพราะไม่เหมาะสมกับสภาพอากาศเมืองร้อน สิ้นเปลืองการตัด ซัก รีด และความจำเป็นในการเปิดเครื่องปรับอากาศ 63.ซักผ้าด้วยเครื่อง ควรใส่ผ้าให้เต็มกำลังของเครื่อง เพราะซัก1 ตัวกับซัก 20 ตัว ก็ต้องใช้น้ำในปริมาณเท่าๆ กัน 64.ไม่ควรอบผ้าด้วยเครื่อง เมื่อใช้เครื่องซักผ้า เพราะเปลืองไฟมาก ควรตากเสื้อผ้ากับแสงแดดหรือแสงธรรมชาติจะดีกว่า ทั้งยังช่วยประหยัดไฟได้มากกว่า 65.ปิดโทรทัศน์ทันทีเมื่อไม่มีคนดู เพราะการเปิดทิ้งไว้โดยไม่มีคนดู เป็นการสิ้นเปลืองไฟฟ้าโดยใช่เหตุ แถมยังต้องซ่อมเร็วอีกด้วย 66.ไม่ควรปรับจอโทรทัศน์ให้สว่างเกินไป และอย่าเปิดโทรทัศน์ให้เสียงดังเกินความจำเป็น เพราเปลืองไฟ ทำให้อายุเครื่องสั้นลงด้วย 67.อยู่บ้านเดียวกัน ดูโทรทัศน์รายการเดียวกัน ก็ควรจะดูเครื่องเดียวกัน ไม่ใช่ดูคนละเครื่อง คนละห้อง เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน 68.เช็ดผมให้แห้งก่อนเป่าผมทุกครั้ง ใช้เครื่องเป่าผมสำหรับแต่งทรงผม ไม่ควรใช้ทำให้ผมแห้ง เพราะต้องเป่านาน เปลืองไฟฟ้า 69.ใช้เตาแก๊สหุงต้มอาหาร ประหยัดกว่าใช้เตาไฟฟ้า เตาอบไฟฟ้าและควรติดตั้งวาล์วนิรภัย (Safety Value) เพื่อความปลอดภัยด้วย 70.เวลาหุงต้มอาหารด้วยเตาไฟฟ้า ควรจะปิดเตาก่อนอาหารสุก5 นาที เพราะความร้อนที่เตาจะร้อนต่ออีกอย่างน้อย 5 นาทีเพียงพอที่จะทำให้อาหารสุกได้ 71.อย่าเสียบปลั๊กหม้อหุงข้าวไว้ เพราะระบบอุ่นจะทำงานตลอดเวลา ทำให้สิ้นเปลืองไฟเกินความจำเป็น 72.กาต้มน้ำไฟฟ้า ต้องดึงปลั๊กออกทันทีเมื่อน้ำเดือด อย่าเสียบไฟไว้เมื่อไม่มีคนอยู่ เพราะนอกจากจะไม่ประหยัดพลังงานแล้วยังอาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้ 73.แยกสวิตช์ไฟออกจากกัน ให้สามารถเปิดปิดได้เฉพาะจุด ไม่ใช้ปุ่มเดียวเปิดปิดทั้งชั้น ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองและสูญเปล่า 74.หลีกเลี่ยงการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ต้องมีการปล่อยความร้อนเช่น กาต้มน้ำ หม้อหุงต้ม ไว้ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ 75.ซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ และหมั่นทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่เสมอ จะทำให้ลดการสิ้นเปลืองไฟได้ 76.อย่าเปิดคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้ถ้าไม่ใช้งาน ติดตั้งระบบลดกระแสไฟฟ้าเข้าเครื่องเมื่อพักการทำงาน จะประหยัดไฟได้ร้อยละ 35-40และถ้าหากปิดหน้าจอทันทีเมื่อไม่ใช้งาน จะประหยัดไฟได้ร้อยละ 60 77.ดูสัญลักษณ์ Energy Star ก่อนเลือกซื้ออุปกรณ์สำนักงาน(เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องโทรสาร เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าเครื่องถ่ายเอกสาร ฯลฯ) ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงาน ลดการใช้ กำลังไฟฟ้า เพราะจะมีระบบประหยัดไฟฟ้าอัตโนมัติ วิธีประหยัดน้ำ 78.ใช้น้ำอย่างประหยัด หมั่นตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำ เพื่อลดการสูญเสียน้ำอย่างเปล่าประโยชน์ 79.ไม่ควรปล่อยให้น้ำไหลตลอดเวลาตอนล้างหน้า แปรงฟัน โกนหนวด และถูสบู่ตอนอาบน้ำ เพราะจะสูญน้ำไปโดยเปล่าประโยชน์ นาทีละหลายๆ ลิตร 80.ใช้สบู่เหลวแทนสบู่ก้อนเวลาล้างมือ เพราะการใช้สบู่ก้อนล้างมือจะใช้เวลามากกว่าการใช้สบู่เหลว และการใช้สบู่เหลวที่ไม่เข้มข้น จะใช้น้ำน้อยกว่าการล้างมือด้วยสบู่เหลวเข้มข้น 81.ซักผ้าด้วยมือ ควรรองน้ำใส่กาละมังแค่พอใช้ อย่าเปิดน้ำไหลทิ้งไว้ตลอดเวลาซัก เพราะสิ้นเปลืองกว่าการซักโดยวิธีการขังน้ำไว้ในกาละมัง 82.ใช้ Sprinkler หรือฝักบัวรดน้ำต้นไม้แทนการฉีดน้ำด้วยสายยาง จะประหยัดน้ำได้มากกว่า 83.ไม่ควรใช้สายยางและเปิดน้ำไหลตลอดเวลาในขณะที่ล้างรถเพราะจะใช้น้ำมากถึง 400 ลิตร แต่ถ้าล้างด้วยน้ำและฟองน้ำในกระป๋องหรือภาชนะบรรจุน้ำ จะลดการใช้น้ำได้มากถึง 300 ลิตรต่อการล้างหนึ่งครั้ง 84.ไม่ควรล้างรถบ่อยครั้งจนเกินไป เพราะนอกจากจะมีความสิ้นเปลืองน้ำแล้ว ยังทำให้เกิดสนิมที่ตัวถังได้ด้วย 85.ตรวจสอบท่อน้ำรั่วภายในบ้าน ด้วยการปิดก๊อกน้ำทุกตัวภายในบ้าน หลังจากทีทุกคนเข้านอน (หรือเวลาที่แน่ใจว่า ไม่มีใครใช้น้ำระยะหนึ่ง จดหมายเลขวัดน้ำไว้ ถ้าตอนเช้ามาตรเคลื่อนที่โดยที่ยังไม่มีใครเปิดน้ำใช้ ก็เรียกช่างมาตรวจซ่อมได้เลย) 86.ควรล้างพืชผักและผลไม้ในอ่างหรือภาชนะที่มีการกักเก็บน้ำไว้เพียงพอ เพราะการล้างด้วยน้ำที่ไหลจากก๊อกน้ำโดยตรง จะใช้น้ำมากกว่า การล้างด้วยน้ำที่บรรจุไว้ในภาชนะถึงร้อยละ 50 87.ตรวจสอบชักโครกว่ามีจุดรั่วซึมหรือไม่ ให้ลองหยดสีผสมอาหารลงในถังพักน้ำ แล้วสังเกตดูที่คอห่าน หากมีน้ำสีลงมาโดยที่ไม่ได้กดชักโครก ให้รีบจัดการซ่อมได้เลย 88.ไม่ใช้ชักโครกเป็นที่ทิ้งเศษอาหาร กระดาษ สารเคมีทุกชนิดเพราะจะทำให้สูญเสียน้ำจากการชักโครก เพื่อไล่สิ่งของลงท่อ 89.ใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำ เช่น ชักโครกประหยัดน้ำ ฝักบัวประหยัดน้ำ ก๊อกประหยัดน้ำ หัวฉีดประหยัดน้ำ เป็นต้น 90.ติด Areator หรือ อุปกรณ์เติมอากาศที่หัวก๊อก เพื่อช่วยเพิ่มอากาศให้แก่น้ำที่ไหลออกจากหัวก๊อก ลดปริมาณการไหลของน้ำ ช่วยประหยัดน้ำ 91.ไม่ควรรดน้ำต้นไม้ตอนแดดจัด เพราะน้ำจะระเหยหมดไปเปล่าๆ ให้รดตอนเช้าที่อากาศยังเย็นอยู่ การระเหยจะต่ำกว่าช่วยให้ประหยัดน้ำ 92.อย่าทิ้งน้ำดื่มที่เหลือในแก้วโดยไม่เกิดประโยชน์อันใด ใช้รดน้ำต้นไม้ ใช้ชำระพื้นผิว ใช้ชำระความสะอาดสิ่งต่างๆ ได้อีกมาก 93.ควรใช้เหยือกน้ำกับแก้วเปล่าในการบริการน้ำดื่ม และให้ผู้ที่ต้องการดื่มรินน้ำดื่มเอง และควรดื่มให้หมดทุกครั้ง 94.ล้างจานในภาชนะที่ขังน้ำไว้ จะประหยัดน้ำได้มากกว่าการล้างจานด้วยวิธีที่ปล่อยให้น้ำไหลจากก๊อกน้ำตลอดเวลา 95.ติดตั้งระบบน้ำให้สามารถใช้ประโยชน์จากการเก็บและจ่ายน้ำตามแรงโน้มถ่วงของโลก เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานไปสูบและจ่ายน้ำภายในอาคาร วิธีประหยัดพลังงานอื่นๆ 96.อย่าใช้กระดาษหน้าเดียวทิ้ง ให้ใช้กระดาษอย่างคุ้มค่าใช้ทั้งสองหน้า ให้นึกเสมอว่า กระดาษแต่ละแผ่น ย่อมหมายถึงต้นไม้หนึ่งต้นที่ต้องเสียไป 97.ในสำนักงานให้ใช้การส่งเอกสารต่อๆ กัน แทนการสำเนาเอกสารหลายๆ ชุด เพื่อประหยัดกระดาษ ประหยัดพลังงาน 98.ลดการสูญเสียกระดาษเพิ่มมากขึ้น ด้วยการหลีกเลี่ยงการใช้กระดาษปะหน้าโทรสาร ชนิดเต็มแผ่น และหันมาใช้กระดาษขนาดเล็ก ที่สามารถตัดพับบนโทรสารได้ง่าย 99.ใช้การส่งผ่านข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ โดยโมเด็ม หรือแผ่นดิสก์ แทนการส่งข่าวสารข้อมูลโดยเอกสาร ช่วยลดขั้นตอนการทำงาน ลดการใช้พลังงานได้มาก 100.หลีกเลี่ยงการใช้จานกระดาษ แก้วน้ำกระดาษ เวลาจัดงานสังสรรค์ต่างๆ เพราะสิ้นเปลืองพลังงานในการผลิต 101.รู้จักแยกแยะประเภทขยะ เพื่อช่วยลดขั้นตอน และลดพลังงานในการทำลายขยะ และทำให้ขยะทั้งหลายง่ายต่อการกำจัด 102.หนังสือพิมพ์อ่านเสร็จแล้วอย่าทิ้ง ให้เก็บไว้ขาย หรือพับถุง เก็บไว้ทำอะไรอย่างอื่น ใช้ซ้ำทุกครั้งถ้าทำได้ ช่วยลดการใช้พลังงานในการผลิต 103.ขึ้นลงชั้นเดียวหรือสองชั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ลิฟท์ จำไว้เสมอว่าการกดลิฟท์แต่ละครั้ง สูญเสียพลังงานถึง 7 บาท 104.งด เลิก บริโภคผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้งเลย เพราะเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานในการผลิต ใช้ทรัพยากรธรรมชาติสิ้นเปลือง เพิ่มปริมาณขยะ เปลืองพลังงานในการกำจัดขยะ 105.ลดการใช้ผลิตภัณฑ์ ที่มีบรรจุภัณฑ์ที่ยากต่อการทำลาย เช่น โฟม หรือพลาสติก ควรเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Reuse) หรือนำไปผ่านกระบวนการผลิตมาใช้ใหม่ได้ (Recycle) 106.สนับสนุนสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ เป็นวัสดุที่สามารถนำมาผ่านกระบวนการนำมาใช้ใหม่ (Recycle) เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติกบางประเภท โดยจัดให้มีการแยกขยะในครัวเรือนและในสำนักงาน 107.ให้ความร่วมมือ สนับสนุน หรือเข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่รณรงค์ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์พลังงาน 108.กระตุ้นเตือนให้ผู้อื่นช่วยกันประหยัดพลังงาน โดยการติดสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายให้ช่วยประหยัดไฟ ตรงบริเวณใกล้สวิทช์ไฟ เพื่อเตือนให้ปิดเมื่อเลิกใช้แล้ว

บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน

บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน ขั้นตอนการดำเนินงาน 1.วางเค้าโครง 2.ศึกษา คนคว้า หาข้อมูลเกี่ยวกับโครงงาน 3.ลงมือปฏิบัติการทำโครงงาน 4.สรุปผล 5.นำเสนอ วัสดุอุปกรณ์ 1.กระดาษ 2.ปากกา 3.ดินสอ 4.คอมพิวเตอร์ 5.อินเตอร์เน็ต 6.หนังสือที่เกี่ยวข้อง 7.เฟลดไดร์ฟ 9.สมุด งบประมาณที่ใช้ 250 บาท สถานที่ดำเนินงาน ห้องสมุด ห้องอินเตอร์เน็ต โรงเรียน บ้าน ตารางการปฏิบัติงาน วันที่ การปฏิบัติงาน 30 ตุลาคม 2556 วางเค้าโครงโครงงาน 10-5 พฤศจิกายน 2556 ค้นคว้าหาข้อมูล เกี่ยวกับการทำโครงงาน 17-24 พฤศจิกายน 2556 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงงาน 26-30 พฤศจิกายน 2556 จัดทำเรียบเรียง เนื้อหาของโครงงาน 1-10 ธันวาคม 2556 ตรวจสอบ และประเมินผล 12-20 ธันวาคม 2556 สรุปผลการทำโครงงาน 25 ธันวาคม 2556 นำเสนอโครงงาน

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง พลังงาน พลังงาน มาจากคำว่า พลัง และ งาน หมายถึง พลังต่างๆ ที่นำมาใช้ให้เกิดเป็นงานตามพระราชบัญญัติการพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน พ.ศ.2535 พลังงาน หมายถึง ความสามารถในการทำงานซึ่งมีอยู่ในตัวของสิ่งของที่อาจให้งาน ได้แก่ พลังงานหมุนเวียน และพลังงานสิ้นเปลือง ความสามารถของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะทำงานได้งาน เป็นผลของการกระทำของแรงเป็นเหตุให้สิ่งนั้นเคลื่อนที่ เช่น เปลวไฟที่เผากาน้ำจะเปลี่ยนน้ำ ให้เป็นไอน้ำและแรงดันไอน้ำจะดันฝากาน้ำขึ้นได้ งานเช่นนี้เรียกว่า พลังงานและพลังงานยังรวมถึงการผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นการประหยัด ค่าใช้จ่ายในกิจการแล้ว ยังจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจาก แหล่งที่ใช้และผลิตพลังงาน การอนุรักษ์พลังงานด้านการอุตสาหกรรม พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ได้กำหนดไว้ก็คือ โรงงานควบคุมและอาคารควบคุมโดยที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้มีมาตรการผลักดัน แนะนำ ส่งเสริม กระตุ้นเพื่อให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานอย่างเป็นระบบโดยรัฐบาลได้ให้การสนับสนุนทางเทคนิคและวิชาการทางเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งให้การสนับสนุนทางด้านการเงินในการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายจะต้องจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน เช่น บุคลากร ข้อมูล แผนงาน เป็นต้น เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์พลังงาน โดยกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานนี้ยังเป็นกรอบและแนวทางปฏิบัติในการปรับปรุงคุณภาพของพลังงานให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานฉบับนี้ยังได้ระบุให้เจ้าของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประจำโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมซึ่งมีคุณสมบัติตามที่พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ได้กำหนดไว้เป็นผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน และให้ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1.บำรุงรักษาและตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานเป็นระยะๆ 2.ปรับปรุงวิธีการใช้พลังงานให้เป็นไปตามหลักการอนุรักษ์พลังงาน 3.รับรองข้อมูลที่ส่งให้แก่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน 4.ควบคุมดูแลการบันทึกข้อมูลการใช้พลังงาน การติดตั้งเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มีผลต่อการใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้และรับรองความถูกต้องของการบันทึกดังกล่าว 5.ช่วยเจ้าของโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมกำหนดเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานเพื่อส่งให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง 6.รับรองผลการตรวจสอบหรือวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานของโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง 7.ช่วยเจ้าของโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมปฏิบัติตามคำแนะนำของอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กฎของธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้จะต้องอาศัยธาตุต่างๆ มาประกอบกันโดยมีพลังงานก่อให้เกิดการเคลื่อนไหว หรือปฏิกิริยาต่างๆ ขึ้น การที่เราสามารถเคลื่อนไหวแขน ขา หรือส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ ก็เพราะอาศัยร่างกาย ได้รับจากอาหาร และร่างกายสามารถเจริญเติบโตได้ ก็เพราะธาตุอาหารที่ต้องการจากอาหาร น้ำ และอากาศ สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านนี้ล้วนต้องอยู่ภายใต้กฎของธรรมชาติ ดังนี้ 1.พลังงานได้จากธรรมชาติเท่านั้น ดวงอาทิตย์เป็นต้นกำเนิดพลังงานที่สำคัญที่สุดของพลังงานที่ใช้กันอยู่ในโลก ไม่ว่าจะเป็นพลังงานในอาหาร น้ำมัน ถ่านหิน ล้วนเป็นพลังงานที่มีต้นกำเนิดมาจากพลังงานของดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น มนุษย์ไม่สามารถสร้างพลังงานขึ้นมาเองได้ แต่มนุษย์สามารถเปลี่ยนแปลงพลังงานจากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่งได้ เช่นเปลี่ยนพลังงาน น้ำมันให้เป็นพลังงานที่ทำให้รถแล่นไปได้ แต่น้ำมันหมด รถก็ไม่่สามารถแล่นไปได้ เราสามารถเดินไปโรงเรียน ได้โดยอาศัยพลังงานจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ถ้าร่างกายขาดพลังงานอาหารเราก็ไม่สามารถเดินหรือเคลื่อนไหวได้ ดังนั้น พลังงานที่ร่างกายได้รับหรือพลังงานที่เกิดจากเทคโนโลยี เช่น พลังงานไฟฟ้า พลังงาน นิวเคลียร์ ล้วนเป็นพลังงานที่ได้รับมาจากธรรมชาติทั้งสิ้น 2.สารอาหารได้จากธรรมชาติเท่านั้น อาหารหรือธาตุอาหารของพืช ของสัตว์หรือของมนุษย์จะได้มาจากธรรมชาติเท่านั้น และพืชเท่านั้นที่เป็นผู้สร้างอาหาร ดังนั้นสัตว์หรือมนุษย์จึงเป็นผู้รับสารอาหารที่พืชเป็นผู้สร้างขึ้นมาและมนุษย์เป็นเพียงผู้เป็นเพียง ผู้นำสารอาหารที่พืช และสัตว์สร้างมาใช้เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ การดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ก็ยังต้องอาศัยพลังงานและธาตุอาหารจากธรรมชาติ อยู่ตลอดไป ดังนั้นธรรมชาติจึงเป็นแหล่งที่ให้ปัจจัยที่สำคัญที่สุดของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และธรรมชาติก็ มีการควบคุมการเปลี่ยนแปลงไปตามระบบของธรรมชาติซึ่งเราเรียกว่า ระบบนิเวศ (Ecosystem) ดวงอาทิตย์เป็นต้นกำเนิดพลังงานที่สำคัญที่สุดของพลังงานที่ใช้กันอยู่ในโลก ไม่ว่าจะเป็นพลังงานในอาหาร น้ำมัน ถ่านหิน ล้วนเป็นพลังงานที่มีต้นกำเนิดมาจากพลังงานของดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น มนุษย์ไม่สามารถสร้างพลังงานขึ้นมาเองได้ แต่มนุษย์สามารถเปลี่ยนแปลงพลังงานจากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่งได้ เช่นเปลี่ยนพลังงานน้ำมันให้เป็นพลังงานที่ทำให้รถแล่นไปได้ แต่น้ำมันหมด รถก็ไม่สามารถแล่นไปได้ เราสามารถเดินไปโรงเรียนได้โดยอาศัยพลังงานจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ถ้าร่างกายขาดพลังงานอาหารเราก็ไม่สามารถเดิน หรือเคลื่อนไหวได้ ดังนั้น พลังงานที่ร่างกายได้รับหรือพลังงานที่เกิดจากเทคโนโลยี เช่น พลังงานไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์ ล้วนเป็นพลังงานที่ได้รับมาจากธรรมชาติทั้งสิ้น ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงาน สภาพความเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อมส่วนใหญ่ อาจกล่าวได้ว่ามีสาเหตุมาจากการผลิตและการใช้พลังงานของมนุษย์แทบทั้งสิ้น ดังนั้นการเสาะแสวงหาทรัพยากรพลังงานมาเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานที่สูงขึ้นเรื่อยๆจึงควรระมัดระวังและพิจารณาให้รอบคอบก่อนนำมาใช้ นักสิ่งแวดล้อมได้กล่าวถึงผลกระทบจากการใช้ทรัพยากรพลังงาน ดังนี้ 1)ทำให้เกิดการเจ็บป่วย ล้มตาย 2)ทำให้สิ่งของและทรัพยากรธรรมชาติเสียหาย 3)ทำลายสภาพแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต 4)เกิดมลภาวะทั้งทางดิน น้ำและอากาศ ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากภาคผลิตไฟฟ้า พลังงานที่ใช้กันในแต่ละประเทศคือ พลังงานไฟฟ้า การผลิตพลังงานไฟฟ้ามีกระบวนการผลิตซึ่งใช้เชื้อเพลิงที่สำคัญๆดังนี้ ถ่านหิน เป็นแหล่งพลังงานที่มีมลพิษสูงโดยปล่อยธาตุคาร์บอนต่อหน่วยพลังงานมากกว่าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติปริมาณสูงการใช้ถ่านหินนำมาซึ่งผลกระทบมหาศาลด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพมนุษย์ และ สังคมซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากผลกระทบที่มีต่อชุมชนผู้ยากจนเป็นส่วนมากที่อาศัยอยู่ในและรอบๆ เหมือง และโรงไฟฟ้าถ่านหิน ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากภาคอุตสาหกรรม การผลิตและการใช้พลังงานในโรงงานก่อให้เกิดมลพิษและของเสียงปลดปล่อยออกมาซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสังคมและชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงกับโรงงานสรุปได้ดังนี้ น้ำทิ้ง ส่วนใหญ่ของการใช้น้ำในกิจการอุตสาหกรรม กว่าร้อยละ 80 เป็นการใช้เพื่อการหล่อเย็น นอกนั้นเป็นการใช้เพื่อกระบวนการผลิตและอื่นๆ น้ำหล่อเย็นควรมีอุณหภูมิต่ำ ความกระด้างต่ำ ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน ส่วนคุณภาพน้ำที่ต้องการสำหรับกระบวนการผลิตจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะพิเศษของแต่ละผลิตภัณฑ์และแต่ละกระบวนการ เช่น เหล็ก แมงกานีส คาร์บอนไดออกไซด์ จะทำความเสียหายให้กับกระบวนการผลิตกระดาษ น้ำที่มีปริมาณคลอรีนสูง เป็นอันตรายต่อการผลิตเหล็กหล่อเป็นต้น น้ำเสียจากกิจการอุตสาหกรรม (Industrial waste) หากเป็นน้ำหล่อเย็นจะทำให้อุณหภูมิของแหล่งน้ำรองรับสูงขึ้น ทำให้ออกซิเจนละลายในน้ำได้น้อยลง ส่วนน้ำเสียจากกระบวนการผลิตจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภท ขนาดของอุตสาหกรรม น้ำเสียจากกระบวนการอุตสาหกรรมบางประเภทสร้างปัญหารุนแรงมากเช่น อาจปล่อยคราบน้ำมันออกมากับน้ำเสีย มีโลหะหนักปนเปื้อน มีความเป็นกรดสูง เป็นต้น มลพิษทางอากาศ จากแหล่ง กำเนิดอุตสาหกรรม เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงและกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดผล กระทบต่อคุณภาพอากาศในบรรยากาศและอาจส่งผล กระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน โดยทั่วไปหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมมีอยู่ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ เชื้อเพลิงที่เป็นของแข็งเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว ได้แก่ น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซล เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว ได้แก่ น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซล เชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซ LPG สารมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ฝุ่นละออง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ซึ่งพบว่ามีปริมาณการระบายออกสู่บรรยากาศเพิ่มมากขึ้นทุกปีตามปริมาณการใช้เชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น มลภาวะทางดิน ดินเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งของสิ่งมีชีวิต จึงจำเป็นต้องรักษาดินให้ใช้ประโยชน์ได้นานที่สุด การกำจัดสารพิษ ด้วยวิธีการฝังดินรวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลต่างๆ โดยการทิ้งบนดิน จะเป็นสาเหตุทำให้ดินมีสภาพไม่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก และก่อให้เกิดภาวะมลพิษทางดิน ปุ๋ยเคมีและสารเคมีที่ใช้ปราบศัตรูพืชก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะมลพิษทางดินได้ เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ยางรถยนต์ พลาสติก บรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้สลายตัวยาก มีความทนทานต่อน้ำแสงแดด และอากาศ จึงตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมทั้งในดินและน้ำ นักวิทยาศาสตร์จึงคิดค้นวิธีกำจัดพลาสติกที่ใช้แล้ว รวมทั้งค้นคว้าเพื่อสังเคราะห์พลาสติกชนิดใหม่ๆ ที่สามารถใช้งานได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นจะเสื่อมสลายไป หรือสังเคราะห์พลาสติกที่จุลินทรีย์สามารถย่อยสลายได้ ในปัจจุบันมีวิธีกำจัดพลาสติกที่ใช้แล้วหลายวิธีดังนี้ ก. ใช้ปฏิกิริยาชีวเคมี เนื่องจากพลาสติกส่วนใหญ่มีความทนทานต่อการย่อยสลายของเอนไซม์จากจุลินทรีย์นักวิทยาศาสตร์จึงได้คิดค้นพลาสติกที่มีโครงสร้างทางเคมีที่สามารถถูกทำลายได้ด้วยเอนไซม์ของจุลินทรีย์พวกแบคทีเรียและเชื้อรา ตัวอย่างเช่น เซลลูโลสซานเทค และเซลลูโลสแอซีเตต หรือการผสมแป้งข้าวโพดในพอลิเอทิลีนแล้วนำมาผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ ข. ใช้สมบัติการละลายในน้ำ พลาสติกบางชนิด เช่น พอลิไวนิลแอลกอฮอล์สามารถละลายในน้ำได้เมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีความชื้นสูง หรืออยู่ในน้ำซึ่งเป็นตัวทำละลายในธรรมชาติ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นพลาสติกจะละลายได้เพิ่มขึ้น ค. ใช้แสงแดด นักเคมีชาวแคนาดาพบว่าการเติมหมู่ฟังก์ชันที่ไวต่อแสงอัลตราไวโอเลตเข้าไปในโซ่พอลิเมอร์ เมื่อพลาสติกถูกแสงแดดจะเกิดสารที่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศทำให้พลาสติกเสื่อมคุณสมบัติ เปราะแตก และหักง่าย ง. ใช้ความร้อน พลาสติกพวกที่เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน เมื่อได้รับความร้อนถึงระดับหนึ่งจะสลายตัวเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก ในที่สุดจะได้คาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำหรือสารอื่นซึ่งเป็นพิษปนออกมาด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพลาสติก เช่น พอลิเอทิลีนติดไฟง่าย พอลิสไตรีนเผาไหม้ให้ควันดำและเขม่ามาก ส่วนพอลิไวนิลคลอไรด์ติดไฟยากต้องให้ความร้อนตลอดเวลาและมีแก๊สไฮโดรเจนคลอไรด์ซึ่งเป็นแก๊สพิษเกิดขึ้นด้วย การเผาเป็นวิธีกำจัดพลาสติกที่รวดเร็ว แต่มีข้อเสียคืออาจเกิดสารพิษที่ก่อให้เกิดภาวะมลพิษทางอากาศได้ จ. นำกลับมาใช้ใหม่ พลาสติกประเภทเทอร์มอพลาสติกสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยล้างทำความสะอาดแล้วนำเข้าเครื่องตัดเป็นชิ้นเล็กก่อนเข้าเครื่องอัดเม็ดเม็ดพลาสติกที่ได้จะสามารถนำไปหลอมเป็นชิ้นงานได้อีก เช่น นำไปใช้ทำโฟมกันกระแทกในการบรรจุผลิตภัณฑ์ ผสมในซีเมนต์เพื่อให้รับแรงกระแทก ใช้ถมที่ดินชายฝั่งทะเลแล้วอัดให้แน่นเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย หรืออาจนำมาอัดให้แน่นใช้ทำเป็นอิฐหรือวัสดุก่อสร้างซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมในแง่เศรษฐกิจและเป็นการสงวนทรัพยากร

บทที่ 5 สรุปผล และอภิปราย

บทที่ 5สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล การทำโครงงานเรื่อง การศึกษาพลังงานในชีวิตประจำวัน การศึกษาแบ่งออกเป็น 11 ตอน คือ ตอนที่ 1ความหมายของพลังงาน ตอนที่ 2 พลังงานในรูปแบบต่าง ๆ ตอนที่ 3 พลังงานทดแทน ตอนที่ 4คุณสมบัติของพลังงานแต่ละชนิด ตอนที่ 5 การใช้พลังงานและแหล่งสำรองของโลก ตอนที่ 6 การใช้พลังงานและแหล่งสำรองของไทย ตอนที่ 7 การเลือกใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ตอนที่ 8 ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงาน ตอนที่ 9 ภาวะมลพิษที่เกิดจากการผลิตและใช้ผลิตภัณฑ์จากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ ตอนที่ 10 มลพิษของพลังงานทดแทนต่อสิ่งแวดล้อม ตอนที่ 11 วิธีการอนุรักษ์พลังงาน ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้ ตอนที่ 1 ความหมายของพลังงาน ผลการศึกษาความหมายของพลังงาน พบว่า พลังงาน หมายถึง ความสามารถในการทำงานซึ่งมีอยู่ในตัวของสิ่งของที่อาจให้งาน ได้แก่ พลังงานหมุนเวียน และพลังงานสิ้นเปลือง ความสามารถของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะทำงานได้งาน เป็นผลของการกระทำของแรงเป็นเหตุให้สิ่งนั้นเคลื่อนที่ ตอนที่ 2 พลังงานในรูปแบบต่าง ๆผลการศึกษาพลังงานในรูปแบบต่าง ๆ พบว่า พลังงานมีดังนี้1. พลังงานเคมี 2. พลังงานไฟฟ้า 3. พลังงานคลื่น4. พลังงานนิวเคลียร์ ตอนที่ 3 พลังงานทดแทนผลการศึกษาพลังงานทดแทน สามารถสรุปได้ดังนี้ พลังงานหลักที่มนุษย์ใช้เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันคือ พลังงานปิโตรเลียม โดยเฉพาะ พลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งในปัจจุบันมีความต้องการใช้น้ำมันเป็นจำนวนมาก แต่ปริมาณน้ำมันมีจำนวนจำกัดทำให้ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นมากนอกจากนี้ปริมาณการใช้อาจจะไม่เกิน 40 ปี ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีการกระตุ้นการคิดขึ้น พัฒนารูปแบบของพลังงานเชื้อเพลิงต่างๆ ขึ้นมาทดแทน โดยเฉพาะเชื้อเพลิงทดแทนซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีการนำทดแทนใช้เป็นเชื้อเพลิงจากก๊าซชีวภาพ ( Bioglass Fuel ) น้ำมันแก๊สโซฮอลล์ น้ำมันไบโอดีเซล การนำเอาพลังงานทดแทนโดยเฉพาะพลังงานทดแทนประเภทหมุนเวียน เป็นพลังงานจากแสงอาทิตย์ , น้ำ , ลม จะช่วยป้องกันการเกิดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะเป็นแนวทางในการรณรงค์ช่วยกันรักษา ภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่งด้วยซึ่งจะจำแนกประเภทของพลังงานทดแทนได้ดังนี้1.ดวงอาทิตย์ ให้พลังงานจำนวนมหาศาลแก่โลกของเรา พลังงานจากดวงอาทิตย์จัดเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญที่สุด เป็นพลังงานสะอาดไม่ทำปฏิกิริยาใดๆอันจะทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เซลล์แสงอาทิตย์จึงเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางอิเล็คทรอนิคส์ชนิดหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า เนื่องจากสามารถเปลี่ยนเซลล์แสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง ในประเทศไทยมีการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้จำนวน 2 รูปแบบ คือ 1. ผลิตไฟฟ้าโดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์ 2. ผลิตความร้อน2.พลังงานความร้อนใต้ พิภพ พลังงานความร้อนใต้พิภพฝาง แหล่งน้ำพุร้อนตามธรรมชาติ ที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ น้ำร้อนที่ถูกนำไปใช้ใน การผลิตไฟฟ้าแล้วนั้น แม้อุณหภูมิจะลดลงบ้าง แต่ก็ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการอบแห้ง และใช้ใน ห้องเย็นสำหรับเก็บรักษาพืชผลทางการเกษตรได้3. เชื้อเพลิงที่มาจากชีวมวล เชื้อเพลิงที่มาจากชีวะ หรือสิ่งมีชีวิตเช่น ไม้ฟืน แกลบ กากอ้อย เศษไม้ เศษหญ้า เศษเหลือทิ้งจากการเกษตร เหล่านี้ใช้เผาให้ความร้อนได้ และความร้อนนี้แหละที่เอาไปปั่นไฟ นอกจากนี้ยังรวมถึงมูลสัตว์และของเสียจากโรงงานแปรรูปทางการเกษตร4.น้ำ น้ำที่กำลังเคลื่อนที่มีพลังงานสะสมอยู่มาก และมนุษย์รู้จักนำพลังงานนี้มาใช้หลายร้อยปีแล้ว เช่น ใช้หมุนกังหันน้ำ ปัจจุบันมีการนำพลังงานน้ำไปหมุนกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้า5.ขยะพลังงานจากขยะจากบ้านเรือนและกิจการต่างๆ เป็นแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพสูง ขยะเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นมวลชีวภาพ เช่น กระดาษ เศษอาหาร และไม้ ซึ่งสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าที่ถูกออกแบบให้ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิงได้ กฎของพลังงาน การเปลี่ยนแปลงพลังงานในลักษณะต่างๆ จะเป็นไปตามกฎของพลังงานหรือที่เรียกว่ากฎของอุณหพล ศาสตร์ ดังนี้1. กฎแห่งการอนุรักษ์พลังงาน กล่าวว่าพลังงานไม่อาจถูกสร้างขึ้นได้ นอกจากจะเปลี่ยนจากพลังงาน ในรูปหนึ่งไปเป็นพลังงานอีกรูปหนึ่งเท่านั้น 2. กฎแห่งการสูญเสียพลังงาน กล่าวว่าในการเปลี่ยนแปลงรูปพลังงานนั้นพลังงานส่วนหนึ่งจะสูญเสียไป ให้กับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเมื่อพลังงานถูกเปลี่ยนไปหลายๆ ชั้นก็ยิ่งทำได้ พลังงานมีปริมาณน้อยไปทุก ตอนที่ 4 คุณสมบัติของพลังงานแต่ละชนิดผลการศึกษาคุณสมบัติของพลังงานแต่ละชนิด สามารถสรุปได้ดังนี้ น้ำมันดิบ มีสถานะตามธรรมชาติ เป็นของเหลวประกอบด้วย สารไฮโดรคาร์บอน ชนิดระเหยง่าย เป็นส่วนใหญ่ และส่วนที่เหลือประกอบด้วย สารกำมะถัน ไนโตรเจน และสารประกอบออกไซด์อื่นๆ ซึ่งมักเรียกว่าเป็นสิ่งปฏิกูล ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อคุณภาพ ของผลิตภัณฑ์ที่กลั่นได้ ราคาของน้ำมันดิบ จะถูกหรือแพง ขึ้นอยู่กับคุณภาพของน้ำมันดิบว่า มีสิ่งปฏิกูลเจือปนมากน้อยเพียงใด ผลิตภัณฑ์ที่กลั่นได้จากน้ำมันดิบ ได้แก่ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา และยางมะตอย โดยก๊าซปิโตรเลียมเหลวก๊าซธรรมชาติ ประกอบด้วย สารไฮโดรคาร์บอนประเภทต่างๆ เป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่เหลือ ประกอบด้วยก๊าซประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ โดยมีไฮโดรเจนซัลไฟด์ ปนอยู่ด้วยในระดับหนึ่ง การซื้อขายก๊าซธรรมชาติ จะคิดราคาตามค่าความร้อน ของเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติจะถูกนำไปแยกก่อนการใช้ โดยส่วนที่เป็น ก๊าซมีเทน มักจะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง ในการผลิตไฟฟ้า และในอุตสาหกรรม รวมทั้ง ใช้เป็น เชื้อเพลิงในยานพาหนะ ส่วนที่เป็นอีเทน และโพรเพน จะนำไปใช้เป็นวัตถุดิบ ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และส่วนที่เป็นโพรเพนและบิวเทน จะนำไปใช้เป็นก๊าซหุงต้ม ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม และยานพาหนะถ่านหิน คือ หินตะกอนชนิดหนึ่งซึ่งสามารถติดไฟได้ และมีส่วนประกอบ ที่เป็นสารประกอบ ของคาร์บอนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 โดยน้ำหนัก หรือ ร้อยละ 70 โดยปริมาตร และยังมีสารประกอบ อื่นๆ เช่น ไฮโดรเจน อ๊อกซิเจน ไนโตรเจน และกำมะถัน เป็นต้นเชื้อเพลิงชีวมวล คือ สารทุกรูปแบบที่ได้จากสิ่งมีชีวิต รวมทั้ง การผลิตจากการเกษตรและป่าไม้เช่น ไม้ฟืน แกลบ กากอ้อย วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอื่นๆ รวมถึง ของเสียจากสัตว์ดังนั้น จึงเหมาะที่จะใช้ใน ครัวเรือน พลังน้ำ เป็นพลังงานที่ได้มาจากแรงอัดดันของน้ำ ที่ปล่อยจากอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน น้ำที่ปล่อยไปนี้ จะได้รับการทดแทนทุกปีพลังงานแสงอาทิตย์ ได้มาจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ ซึ่งนำมาใช้เป็นพลังงานความร้อน และการสังเคราะห์แสง หรือโดยผ่านอุปกรณ์รับแสงพลังงานลม เกิดจากการเคลื่อนตัวของอากาศ ถ้าอากาศเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง จะทำให้มีพลังงานมากพลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นการนำน้ำร้อนที่มีอยู่ใต้พื้นดิน มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการผลิตกระแสไฟฟ้า กลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาพลังงาน ความร้อนใต้พิภพ มาใช้ประโยชน์ อย่างเด่นชัดมักเป็นกลุ่มประเทศ ที่มีสภาพทางธรณีวิทยา เอื้ออำนวยต่อศักยภาพพลังงานนิวเคลียร์ เป็นพลังงานที่ได้มาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ ซึ่งเกิดจากการแตกตัวของ นิวเคลียสของธาตุเชื้อเพลิง เช่น ยูเรเนียม และให้พลังงานความร้อนมหาศาล จึงใช้ในการผลิตไฟฟ้า ปฏิกิริยานิวเคลียร์ สามารถขจัดปัญหา การปล่อยมลพิษทางอากาศ รวมทั้ง การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เป็นปัญหาหลักของเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ แต่ก็มีปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นที่อาจเกิดจาก การใช้สารรังสี ตอนที่ 5 การใช้พลังงานและแหล่งสำรองของโลก ผลการศึกษาการใช้พลังงานและแหล่งสำรองของโลก สามารถสรุปได้ดังนี้ ปัจจุบัน การใช้พลังงานของโลก ประกอบด้วย เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งได้แก่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและถ่านหินมีปริมาณรวมกันถึงร้อยละ 95 และอีกร้อยละ 2 มาจากพลังงานนิวเคลียร์ ส่วนที่เหลือร้อยละ 3 นำมาจากพลังงานประเภทอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวล พลังงานจากคลื่นในมหาสมุทร และพลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นต้น โดยปริมาณการใช้พลังงานของโลกในปี 2540 มีปริมาณเมื่อเทียบเท่า น้ำมันดิบ รวมทั้งสิ้น 9,371 พันล้านลิตร แนวโน้มการใช้พลังงานของโลก จากการคาดการณ์ ของกระทรวงพลังงานสหรัฐอเมริกา คาดว่าน้ำมัน ยังคงมีสัดส่วนการใช้สูง เป็นอันดับหนึ่ง อันดับสอง คือ ก๊าซธรรมชาติ และรองลงมาคือ ถ่านหิน โดยคาดว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า หรือประมาณปี 2563 จะมีสัดส่วนการใช้น้ำมันร้อยละ 37 ก๊าซธรรมชาติร้อยละ 27 ถ่านหินร้อยละ25 พลังงานหมุนเวียนร้อยละ 8 และพลังงาน นิวเคลียร์ร้อยละ 3 ซึ่งจะเห็นได้ว่า สัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติ และพลังงานหมุนเวียนจะเพิ่ม สูงขึ้นจากปี 2540 หากโลกมีการใช้พลังงาน ในระดับที่เป็นอยู่ และไม่มีการค้นพบเพิ่มเติมแล้ว คาดว่าโลก จะมีแหล่งสำรองน้ำมันใช้ไปได้ อีกประมาณ 42 ปี ก๊าซธรรมชาติอีกประมาณ 64 ปี และถ่านหินอีกประมาณ 220 ปี นับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นไป ตอนที่ 6 การใช้พลังงานและแหล่งสำรองของผลการศึกษาการใช้พลังงานและแหล่งสำรองของโลก สามารถสรุปได้ดังนี้ ในปี 2540 ประเทศไทยมีความต้องการใช้พลังงานปฐมภูมิโดยรวม 93 พันล้านลิตรเทียบเท่า น้ำมันดิบ โดยมีสัดส่วนการใช้น้ำมันสูงเป็นอันดับหนึ่ง ถึงร้อยละ 42 อันดับสองคือ พลังงานหมุนเวียนร้อยละ 26 รองลงมาคือ ก๊าซธรรมชาติร้อยละ 17 ลิกไนต์ร้อยละ 9 และถ่านหิน นำเข้าและซื้อไฟฟ้าสัดส่วนเท่ากันคือร้อยละ 3 จะเห็นได้ว่าสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน ของไทยค่อนข้างสูง พลังงานหมุนเวียนที่นิยมใช้กันมากได้แก่ ไม้ฟืน ถ่าน กากอ้อย และแกลบ โดยส่วนใหญ่ใช้เป็นเชื้อเพลิงหุงต้มของครัวเรือนในชนบทและในอุตสาหกรรมอาหาร แหล่งสำรองพลังงานที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งมีการสำรวจและพิสูจน์แล้ว มีปริมาณสำรอง ไม่มากนักเมื่อเทียบกับปริมาณการใช้ของประเทศ จึงต้องมีการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ในอัตราร้อยละ 60 ของปริมาณความต้องการรวม โดย ณ สิ้นปี 2540 ประเทศมีแหล่งสำรอง พลังงานที่พิสูจน์แล้วคงเหลือ ดังนี้•น้ำมันดิบ มีปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว 17 พันล้านลิตร ซึ่งปริมาณสำรองที่มีอยู่ไม่ เพียงพอกับปริมาณความต้องการใช้ในแต่ละปี•ก๊าซธรรมชาติ มีปริมาณสำรองพิสูจน์แล้ว 356 พันล้านลิตร ซึ่งหากปริมาณการใช้ไม่ เปลี่ยนแปลงและไม่มีการค้นพบเพิ่มเติมแล้ว คาดว่าจะใช้ไปได้อีกประมาณ 22 ปี•ถ่านหิน (ลิกไนต์) ที่พัฒนาขึ้นมาใช้ประโยชน์แล้ว มีปริมาณสำรองที่ประเมินแล้วคงเหลือ 1,676 พันล้านลิตร แบ่งเป็นเหมืองของ กฟผ. 1,495 พันล้านลิตร และเหมืองเอกชน 181 พันล้านลิตร ซึ่งหากปริมาณการใช้ไม่เปลี่ยนแปลงและไม่มีการค้นพบเพิ่มเติมแล้ว คาดว่าจะใช้ไปได้อีกประมาณ 62 ปี•ซึ่งในปัจจุบัน กฟผ. ได้ดำเนินโครงการทดลองที่ผลิต ไฟฟ้าและจ่ายไฟฟ้าขนานเข้าระบบจำหน่ายของ กฟภ. แล้ว ดังนี้-โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ -โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม -โครงการไฟฟ้าสาธิตจากพลังงานความร้อนใต้พิภพ -โครงการโรงไฟฟ้าสาธิตเซลล์เชื้อเพลิง -โครงการติดตั้งระบบทำน้ำร้อนแสงอาทิตย์ -โครงการสาธิตระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ตอนที่ 7 การเลือกใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ผลการศึกษา การเลือกใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า สามารถสรุปได้ดังนี้ การเลือกใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า จะต้องพิจารณาถึงศักยภาพ ของแหล่งเชื้อเพลิง ความมั่นคง ในการจัดหา ราคาของเชื้อเพลิง และปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ของเชื้อเพลิง รวมถึงประเภทของโรงไฟฟ้า ที่ต้องการในระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะการใช้ไฟฟ้า ในแต่ละช่วงเวลา ชนิดของเชื้อเพลิงที่ กฟผ. ได้พิจารณาเพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิง ในการผลิตไฟฟ้า ได้แก่ พลังน้ำน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ลิกไนต์ ถ่านหิน นิวเคลียร์ ออริมัลชั่น (Orimulsion) และการซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ยังมีพลังงานทดแทน ซึ่งได้แก่พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นต้น ปัจจัยที่สำคัญในการเลือกเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า คือ ต้นทุนที่ต่ำ โดยต้นทุน จะประกอบด้วย ต้นทุนค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้า ต้นทุนในการดำเนินงาน และต้นทุนเชื้อเพลิง โดยในปี 2541 ต้นทุนเชื้อเพลิงที่ถูกที่สุด ได้แก่ ลิกไนต์ รองลงมาได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันเตา และดีเซล ตอนที่ 8 ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงานผลการศึกษา ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงานสามารถสรุปได้ดังนี้ สภาพความเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อมส่วนใหญ่ อาจกล่าวได้ว่ามีสาเหตุมาจากการผลิตและการใช้พลังงานของมนุษย์แทบทั้งสิ้น ดังนั้นการเสาะแสวงหาทรัพยากรพลังงานมาเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานที่สูงขึ้นเรื่อยๆจึงควรระมัดระวังและพิจารณาให้รอบคอบก่อนนำมาใช้ นักสิ่งแวดล้อมได้กล่าวถึงผลกระทบจากการใช้ทรัพยากรพลังงาน ดังนี้1) ทำให้เกิดการเจ็บป่วย ล้มตาย 2) ทำให้สิ่งของและทรัพยากรธรรมชาติเสียหาย 3) ทำลายสภาพแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต 4) เกิดมลภาวะทั้งทางดิน น้ำและอากาศส่วนปัญหาสิ่งแวดล้อมจากภาคผลิตไฟฟ้า พลังงานที่ใช้กันในแต่ละประเทศคือ พลังงานไฟฟ้า การผลิตพลังงานไฟฟ้ามีกระบวนการผลิตซึ่งใช้เชื้อเพลิงที่สำคัญๆดังนี้-ถ่านหิน เป็นแหล่งพลังงานที่มีมลพิษสูงโดยปล่อยธาตุคาร์บอนต่อหน่วยพลังงานมากกว่าน้ำมันและก๊าซ ธรรมชาติปริมาณสูงซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากผลกระทบที่มีต่อชุมชนผู้ยากจนเป็นส่วนมากที่อาศัยอยู่ในและ รอบๆ เหมือง และโรงไฟฟ้าถ่านหิน-ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากภาคอุตสาหกรรม การใช้น้ำในกิจการอุตสาหกรรม กว่าร้อยละ 80 เป็นการใช้เพื่อการหล่อเย็น หากเป็นน้ำหล่อเย็นจะทำให้อุณหภูมิของแหล่งน้ำรองรับสูงขึ้น ทำให้ออกซิเจนละลายในน้ำได้น้อยลง ส่วนน้ำเสียจากกระบวนการผลิตจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภท ขนาดของอุตสาหกรรม น้ำเสียจากกระบวนการอุตสาหกรรมบางประเภทสร้างปัญหารุนแรงมาก มลพิษทางอากาศ จากแหล่ง กำเนิดอุตสาหกรรม เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงและกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดผล กระทบต่อคุณภาพอากาศในบรรยากาศและอาจส่งผล กระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน สารมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ฝุ่นละออง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ซึ่งพบว่ามีปริมาณการระบายออกสู่บรรยากาศเพิ่มมากขึ้นทุกปีตามปริมาณการใช้เชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นตอนที่ 9 ภาวะมลพิษที่เกิดจากการผลิตและใช้ผลิตภัณฑ์จากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ผลการศึกษา ภาวะมลพิษที่เกิดจากการผลิตและใช้ผลิตภัณฑ์จากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ สามารถสรุปได้ดังนี้ การผลิตและการนำปิโตรเคมีภัณฑ์ไปใช้ การขนส่ง การทิ้งกากของเสียและขยะของสารที่ใช้แล้วอุตสาหกรรมเหล่านี้ล้วนมีผลโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้คุณภาพของอากาศ น้ำ และดินเปลี่ยนแปลงไป เกิดอันตรายทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสิ่งมีชีวิต ภาวะแวดล้อมที่ก่อให้เกิดอันตรายเรียกว่า ภาวะมลพิษ และเรียกสารที่ก่อให้เกิดภาวะมลพิษว่า สารมลพิษ-มลพิษทางอากาศจะมีแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกิดขึ้น เมื่อปะปนมากับน้ำฝนทำให้เกิดเป็นฝนกรด ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ ทำให้สีใบไม้ซีดจางและสังเคราะห์แสงไม่ได้ กัดกร่อนโลหะและอาคารบ้านเรือน ถ้าร่างกายได้รับแก๊สนี้จะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยเรื้อรัง โลหิตจาง และเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจและปอด -มลภาวะทางน้ำ สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำคือ การใช้ปิโตรเคมีภัณฑ์จะกระตุ้นการเจริญงอกงามของพืชน้ำได้ดีและรวดเร็ว เมื่อพืชน้ำตาย จุลินทรีย์ในน้ำจะต้องใช้ออกซิเจนจำนวนมากในการย่อยสลายซากพืชเหล่านั้นเป็นเหตุให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง จึงทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย สารเคมีและวัตถุดิบมีพิษที่ใช้ในการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตในการเพาะปลูก สารกำจัดแมลงและกำจัดวัชพืชเมื่อตกค้างอยู่ในอากาศหรือดินก็จะถูกน้ำชะล้างลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้แหล่งน้ำในบริเวณเกษตรกรรม หรือสายน้ำที่ไหลผ่านมีสารพิษสะสมหรือปะปนอยู่การจับสัตว์น้ำจากแหล่งน้ำในบริเวณนั้นมาบริโภคก็จะมีโอกาสได้รับพิษจากสารดังกล่าวด้วย-มลภาวะทางดิน เป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งของสิ่งมีชีวิต จึงจำเป็นต้องรักษาดินให้ใช้ประโยชน์ได้นานที่สุด การกำจัดสารพิษด้วยวิธีการฝังดินรวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลต่างๆ โดยการทิ้งบนดิน จะเป็นสาเหตุทำให้ดินมีสภาพไม่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกและก่อให้เกิดภาวะมลพิษทางดิน ปุ๋ยเคมีและสารเคมีที่ใช้ปราบศัตรูพืชก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะมลพิษทางดินได้ ตอนที่ 10 มลพิษของพลังงานทดแทนต่อสิ่งแวดล้อมผลการศึกษามลพิษของพลังงานทดแทนต่อสิ่งแวดล้อม สามารถสรุปได้ดังนี้ การนำเอาพลังงานทดแทนมาใช้แทนพลังงานจากปิโตรเลียม จะก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมดังต่อไปนี้ 1.พลังงานทดแทนประเภทหมุนเวียนเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ , พลังงานน้ำ , พลังงานลม จำเป็นจะต้องใช้พื้นที่ปริมาณกว้าง สำหรับก่อสร้างสถานที่สำหรับผลิตพลังงานดังกล่าว จะมีผลกระทบต่อพื้นที่เพาะปลูก กระทบต่อการตัดไม้ทำลายป่า สัตว์ป่า และที่อยู่อาศัยของประชาชนบริเวณดังกล่าวได้ 2.พลังงานทดแทนประเภทใช้แล้วหมดไป เช่น ถ่านหิน จะมีผลต่อมลพิษทางอากาศ ก่อให้เกิดก๊าซ SO2 , NO2 ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจก ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้ ส่วนก๊าซธรรมชาติจะมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ทางทะเลบริเวณที่ขุดเจาะก๊าซธรรมชาติดังกล่าว ส่วนปัญหาทางด้านมลพิษทางอากาศจะมีน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับถ่านหินและน้ำมัน ตอนที่ 11 วิธีการอนุรักษ์พลังงาน ผลการศึกษาวิธีการอนุรักษ์พลังงาน มีหลากหลายวิธีสรุปได้ดังนี้ 1.ในการเดินทาง 1.1 ใกล้ๆ...ไม่ไกลจนเกินไป...ควรเดินไป...ไม่ใช้รถ...หรือจะใช้รถจักรยานแทนก็ได้ เป็นการออกกำลังกายไปในตัว 1.2 ควรวางแผนเส้นทางก่อนเดินทาง เพื่อเลือกทางที่ใกล้ที่สุด หรือใช้เวลาน้อยที่สุด ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานหรือลดความสิ้นเปลือง ของน้ำมันเชื้อเพลิงต่อวันลงได้ รวมทั้งลดเวลาในการเดินทาง 1.3 หากที่พักของเราใกล้กับที่ทำงานในระยะทางที่สามารถใช้รถโดยสารประจำทางได้สะดวก ก็ควรหันมาใช้รถประจำทางให้มากขึ้น 1.4 ถ้าต้องการเดินทางจากที่พักถึงที่ทำงานเป็นระยะทางไกลๆทุกวัน ควรจะใช้เส้นทางลัด หรือเส้นทางที่มีสัญญาณไฟจราจรหรือทางแยก น้อยที่สุด 1.5 หลีกเลี่ยงเวลาทางเดินทางระยะไกล เช่น ไปต่างจังหวัด หากไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ส่วนบุคคลแล้ว ควรหันมาใช้รถโดยสารประจำทาง หรือ รถไฟ 1.6 หมั่นตรวจสอบสภาพรถตลอดเวลา และก่อนเดินทางไกล 2. การอุตสาหกรรมพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ได้กำหนดไว้ก็คือ โรงงานควบคุมและอาคารควบคุม โดยที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้มีมาตรการผลักดัน แนะนำ ส่งเสริม กระตุ้นเพื่อให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานอย่างเป็นระบบโดยรัฐบาลได้ให้การสนับสนุนทางเทคนิคและวิชาการทางเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งให้การสนับสนุนทางด้านการเงินในการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายจะต้องจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน เช่น บุคลากร ข้อมูล แผนงาน เป็นต้น เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์พลังงาน โดยกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานนี้ยังเป็นกรอบและแนวทางปฎิบัติในการปรับปรุงคุณภาพของพลังงานให้ดียิ่งขึ้น3. บ้านเรือนที่อยู่อาศัย การใช้พลังงานในบ้านเรือนที่อยู่อาศัยควรปฏิบัติดังนี้3.1 การใช้น้ำ3.2 เลือกซื้อแต่อุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานเช่น เลือกซื้ออุปกรณ์ที่มีฉลากเบอร์ 5 เป็นต้น3.3 การใช้เตารีดไฟฟ้า3.4 การใช้โทรทัศน์3.5 การใช้เครื่องซักผ้า อภิปรายผลการศึกษาค้นคว้า ผลการศึกษาความหมายของพลังงาน พบว่า พลังงาน หมายถึง ความสามารถในการทำงานซึ่งมีอยู่ในตัวของสิ่งของที่อาจให้งาน ได้แก่ พลังงานหมุนเวียน และพลังงานสิ้นเปลือง ความสามารถของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะทำงานได้งาน เป็นผลของการกระทำของแรงเป็นเหตุให้สิ่งนั้นเคลื่อนที่ พลังงานมีหลายประเภท พลังงานที่ได้ศึกษามา ได้แก่พลังงานทดแทน พลังงานสิ้นเปลือก โดยคุณสมบัติของพลังงานแต่ละชนิดจะต่างกันโดยพลังงานที่ใช้กันปัจจุบันมีทั้งพลังงานที่สิ้นเปลือกเป็นพลังงานที่กว่าจะสร้างขึ้นมาใหม่ต้องใช้เวลานับหลายพันปี ซึ่งพลังงานแหล่งสำรองของโลกก็ต้องหมดไป ส่วนของไทยนั้นก็เป็นเช่นเดียวกัน การเลือกใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้ามีหลายวิธีที่ควรปฏิบัติ ในส่วนปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงาน ภาวะมลพิษที่เกิดจากการผลิตและใช้ผลิตภัณฑ์จากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะประเทศใด และมลพิษของพลังงานทดแทนต่อสิ่งแวดล้อมก็เป็นปัญหาที่ต้องดูแลเช่นกัน วิธีการอนุรักษ์พลังงานมีหลายวิธีซึ่งรวบรวมมาอย่างน้อย 108 วิธี

เค้าโครงของโครงงาน

                                  ชื่อโครงงาน การศึกษาพลังงานในชีวิตประจำวัน
 ชื่อผู้จัดทำ นางสาวอัจฉราพร ชุ่มมาก ชั้นม.4/2 เลขที่ 24
 ครูที่ปรึกษา คุณครุธนดล คำเสมอ
 ระยะเวลาการดำเนินงาน 30 ตุลาคม ถึง 31 ธันวาคม ที่มาและความสำคัญ พลังงานนับได้ว่ามีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ทุกชนิดในโลก โดยนับตั้งแต่ได้เกิดสิ่งมีชีวิตขึ้นครั้งแรกนั้น พลังงานเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ก่อให้เกิดการรวมตัวกันของธาตุชนิด ในอัตราส่วนที่เหมาะสม ก่อให้เกิดวิวัฒนาการ และก่อเกิดการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตขึ้น นอกจากพลังงานจะเป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตดังกล่าวแล้ว มนุษย์ยังรู้จักใช้แรงงานจากสัตว์ และพลังงานจากแสงอาทิตย์ยังเป็นพลังงานที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์โดยตรงก่อนพลังงานอื่นๆ ซึ่งต่อมารู้จักใช้พลังงานที่มีปรากฏอยู่ในธรรมชาติอื่นๆ เช่น พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานใต้พิภพ มาใช้ในกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น แต่ที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ เชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์ ซึ่งการเผาไหม้คือ เชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์จะมีมีสารพิษจากการเผาไหม้เกิดขึ้น และเนื่องด้วยการขยายตัวของเศรษฐกิจสูงขึ้น การใช้พลังงานก็สูงขึ้น ผลสืบเนื่องก็คือเกิดความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม สารพิษจึงสะสมจนก่อให้เกิดมลภาวะ ตลอดจนการใช้พลังงานด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความประมาทเลินเล่อ ของมนุษย์ ได้ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ต่างๆ มักเกิดผลเสียที่เราคาดไม่ถึงเสมอ เช่นการเกิดสารพิษในอากาศ การเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ ระบบนิเวศถูกทำลาย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นผู้จัดทำจึงได้ศึกษาค้นคว้า หาข้อมูลเกี่ยวกับการใช้พลังงาน ประวัติการใช้พลังงานของมนุษย์ และสถานการณ์การใช้พลังงาน และการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งที่จะสามารถเผยแพร่ให้เกิดความรู้กับบุคคลทั่วไป เพื่อที่จะตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับการใช้พลังงาน ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเห็นโทษของการใช้พลังงานที่ผิดๆ และสร้างจิตสำนึกให้เกิดแก่สังคมไทย เป้าหมาย 1.เห็นผลกระทบของปัญหาเกี่ยวกับการใช้พลังงาน 2.ผู้คนให้คามสำคัญของการอนุรักษ์พลังงาน วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน 2.เพื่อให้บุคคลทั่วไปตระหนักถึงปัญหาการใช้พลังงานในประเทศไทย 3.เพื่อให้บุคคลทั่วไปตระหนักถึงผลกระทบของการใช้พลังงาน 4.เพื่อศึกษาแนวทางในการอนุรักษ์พลังงาน หลักการและทฤษฎี ความหมายของการอนุรักษ์พลังงาน พลังงาน มาจากคำว่า พลัง และ งาน หมายถึง พลังต่างๆ ที่นำมาใช้ให้เกิดเป็นงานตามพระราชบัญญัติการพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน พ.ศ.2535 พลังงาน หมายถึง ความสามารถในการทำงานซึ่งมีอยู่ในตัวของสิ่งของที่อาจให้งาน ได้แก่ พลังงานหมุนเวียน และพลังงานสิ้นเปลือง ความสามารถของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะทำงานได้งาน เป็นผลของการกระทำของแรงเป็นเหตุให้สิ่งนั้นเคลื่อนที่ เช่น เปลวไฟที่เผากาน้ำจะเปลี่ยนน้ำ ให้เป็นไอน้ำและแรงดันไอน้ำจะดันฝากาน้ำขึ้นได้ งานเช่นนี้เรียกว่า พลังงานและพลังงานยังรวมถึงการผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นการประหยัด ค่าใช้จ่ายในกิจการแล้ว ยังจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจาก แหล่งที่ใช้และผลิตพลังงาน กฎการอนุรักษ์พลังงาน กล่าวว่า "พลังงานไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่หรือทำให้สูญหายไปได้ แต่พลังงาน สามารถเกิดการถ่ายโอนระหว่างพลังงานด้วยกันได้ หรือเกิดการเปลี่ยนรูปพลังงานได้นั่นเอง" มนุษย์ใช้หลักการดังกล่าวเปลี่ยนรูปพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์และตรงตามความต้องการได้ กฎแห่งการสูญเสียพลังงาน กล่าวว่า “ในการเปลี่ยนแปลงรูปพลังงานนั้นพลังงานส่วนหนึ่งจะสูญเสียไป ให้กับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเมื่อพลังงานถูกเปลี่ยนไปหลายๆ ชั้นก็ยิ่งทำได้ พลังงานมีปริมาณน้อยไปทุกที” ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงาน คือ สภาพความเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อมส่วนใหญ่ อาจกล่าวได้ว่ามีสาเหตุมาจากการผลิตและการใช้พลังงานของมนุษย์แทบทั้งสิ้น ดังนั้นการเสาะแสวงหาทรัพยากรพลังงานมาเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานที่สูงขึ้นเรื่อยๆจึงควรระมัดระวังและพิจารณาให้รอบคอบก่อนนำมาใช้ นักสิ่งแวดล้อมได้กล่าวถึงผลกระทบจากการใช้ทรัพยากรพลังงาน มลพิษทางอากาศ คือ มลภาวะที่เกิดจากแหล่ง กำเนิดอุตสาหกรรม เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงและกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดผล กระทบต่อคุณภาพอากาศในบรรยากาศและอาจส่งผล กระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน โดยทั่วไปหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ หาปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องใช้ไปในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ เรียกว่า ค่า BOD(Biochemical Oxygen Demand) ซึ่งจะบอกถึงปริมาณจุลินทรีย์ที่ต้องใช้ออกซิเจนในน้ำ หาปริมาณความต้องการออกซิเจนของสารเคมีที่อยู่ในน้ำ เรียกว่า ค่า CDO (Chemical Oxygen Demand) ซึ่งจะบอกถึงปริมาณของสารเคมีที่สามารถทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในน้ำ ก๊าซธรรมชาติ ประกอบด้วย สารไฮโดรคาร์บอนประเภทต่างๆ เป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่เหลือ ประกอบด้วยก๊าซประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ โดยมีไฮโดรเจนซัลไฟด์ ปนอยู่ด้วยในระดับหนึ่ง การซื้อขายก๊าซธรรมชาติ จะคิดราคาตามค่าความร้อน ของเชื้อเพลิง ส่วนข้อกำหนดอื่นๆ จะเป็นส่วนประกอบ ที่ช่วยให้ความมั่นใจ ในความสะอาดว่า จะไม่มีปัญหาในการใช้ ซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อม จากการใช้ก๊าซธรรมชาติ มีค่อนข้างน้อย เนื่องจากในขบวนการ เผาไหม้ก๊าซธรรมชาติ จะถูกเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ ได้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ ได้อย่างสูงสุด ก๊าซธรรมชาติจะถูกนำไปแยกก่อนการใช้ โดยส่วนที่เป็น ก๊าซมีเทน มักจะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง ในการผลิตไฟฟ้า และในอุตสาหกรรม รวมทั้ง ใช้เป็น เชื้อเพลิงในยานพาหนะ ส่วนที่เป็นอีเทน และโพรเพน จะนำไปใช้เป็นวัตถุดิบ ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และส่วนที่เป็นโพรเพนและบิวเทน จะนำไปใช้เป็นก๊าซหุงต้ม ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม และยานพาหนะ ถ่านหิน คือ หินตะกอนชนิดหนึ่งซึ่งสามารถติดไฟได้ และมีส่วนประกอบ ที่เป็นสารประกอบ ของคาร์บอนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 โดยน้ำหนัก หรือ ร้อยละ 70 โดยปริมาตร และยังมีสารประกอบ อื่นๆ เช่น ไฮโดรเจน อ๊อกซิเจน ไนโตรเจน และกำมะถัน เป็นต้น การจำแนกคุณสมบัติของถ่านหิน ตามคุณสมบัติทางเคมี และค่าความร้อนอย่างหยาบๆ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด คือส่วนใหญ่มีการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และอุตสาหกรรมที่ใช้หม้อไอน้ำ เช่น โรงงานกระดาษ และโรงงานชูรส เป็นต้น อย่างไรก็ตามในการ เผาไหม้ถ่านหินจะมีการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ฝุ่นละออง และควัน ดังนั้น ก่อนนำเชื้อเพลิงไปใช้จะต้องหาวิธีการจัดการ กับมลพิษ โดยอาจเลือกใช้ถ่านหินคุณภาพดี หรืออาจลดปริมาณสารมลพิษในเชื้อเพลิง ก่อนนำไปใช้ หรือใช้เทคโนโลยี ในการกำจัดมลพิษที่เกิดขึ้น ก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม เชื้อเพลิงชีวมวล คือ สารทุกรูปแบบที่ได้จากสิ่งมีชีวิต รวมทั้ง การผลิตจากการเกษตรและป่าไม้เช่น ไม้ฟืน แกลบ กากอ้อย วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอื่นๆ รวมถึง ของเสียจากสัตว์ เช่นมูลสัตว์และของเสีย จากโรงงานแปรรูปทางเกษตร และขยะมาผลิตก๊าซชีวภาพ ในการผลิตพลังงาน จำนวนเท่าๆ กันต้องใช้ไม้ฟืน ในปริมาตรที่มากกว่าน้ำมันและถ่าน ดังนั้น จึงเหมาะที่จะใช้ใน ครัวเรือน พลังงานน้ำ เป็นพลังงานที่ได้มาจากแรงอัดดันของน้ำ ที่ปล่อยจากอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน น้ำที่ปล่อยไปนี้ จะได้รับการทดแทนทุกปี โดยฝนหรือการละลายของหิมะ แต่ในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยต้องสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ ต้องมีการอพยพสัตว์ป่า และชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ และสภาพแวดล้อม บริเวณดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป พลังงานแสงอาทิตย์ ได้มาจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ ซึ่งนำมาใช้เป็นพลังงานความร้อน และการสังเคราะห์แสง หรือโดยผ่านอุปกรณ์รับแสง เช่น เซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อเปลี่ยนเป็น พลังงานไฟฟ้าและความร้อน เพื่อนำไปใช้งานต่อไป พลังงานลม เกิดจากการเคลื่อนตัวของอากาศ ถ้าอากาศเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง จะทำให้มีพลังงานมาก ซึ่งสามารถนำมาใช้หมุนกังหันลม เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า พลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นการนำน้ำร้อนที่มีอยู่ใต้พื้นดิน มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการผลิตกระแสไฟฟ้า กลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาพลังงาน ความร้อนใต้พิภพ มาใช้ประโยชน์ อย่างเด่นชัดมักเป็นกลุ่มประเทศ ที่มีสภาพทางธรณีวิทยา เอื้ออำนวยต่อศักยภาพ ทางพลังงานความร้อนใต้พิภพ ซึ่งได้แก่ บริเวณที่เปลือกโลกมีการเคลื่อนไหว และมีแนวของภูเขาไฟอย่างต่อเนื่อง เช่น ประเทศอิตาลี ไอซ์แลนด์ สหรัฐอเมริกา (แถบตะวันตก) เม็กซิโก ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์อินโดนีเซีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น พลังงานนิวเคลียร์ เป็นพลังงานที่ได้มาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ ซึ่งเกิดจากการแตกตัวของ นิวเคลียสของธาตุเชื้อเพลิง เช่น ยูเรเนียม และให้พลังงานความร้อนมหาศาล จึงใช้ในการผลิตไฟฟ้า ปฏิกิริยานิวเคลียร์ สามารถขจัดปัญหา การปล่อยมลพิษทางอากาศ รวมทั้ง การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เป็นปัญหาหลักของเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ แต่ก็มีปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นที่อาจเกิดจาก การใช้สารรังสี ซึ่งหากมีเทคโนโลยีควบคุมที่ดี ก็จะป้องกันการรั่วไหลของสารรังสีได้ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องการกำจัดกากนิวเคลียร์ ซึ่งจะต้องมีมาตรการควบคุมดูแล ไม่ให้การกำจัดกาก ของเสียส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบ เนื่องจากสารเหล่านี้มีค่าทางรังสีสูงมาก และจะคงสภาพอยู่เป็นเวลานับพันๆ ล้านปีหลักการในการจัดหาพลังงาน ในการกำหนดนโยบายพลังงาน จะต้องคำนึงถึงหลักการ ในการจัดหาพลังงาน ดังต่อไปนี้ •ต้องมีแหล่งสำรองพลังงานที่มีปริมาณเพียงพอ และแน่นอน เพื่อความมั่นคงในการจัดหา •ต้องมีการกระจายแหล่งของพลังงาน และชนิดของพลังงาน เพื่อลดความเสี่ยง โดยหลีกเลี่ยงการ พึ่งพาพลังงานจากแหล่งเดียว หรือชนิดเดียว •ต้องมีราคาที่เหมาะสม เพื่อให้ต้นทุนการผลิตต่ำ •ต้องเป็นพลังงานที่สะอาด ก่อให้เกิดมลพิษน้อย หรืออาจจะเป็นพลังงานที่ไม่สะอาด แต่มี เทคโนโลยีที่ควบคุมมลพิษได้ •ต้องใช้ทรัพยากรพลังงาน ภายในประเทศ ที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เหมาะสมกับ คุณค่าของทรัพยากร การเลือกใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า การเลือกใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า จะต้องพิจารณาถึงศักยภาพ ของแหล่งเชื้อเพลิง ความมั่นคง ในการจัดหา ราคาของเชื้อเพลิง และปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ของเชื้อเพลิง รวมถึงประเภทของโรงไฟฟ้า ที่ต้องการในระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะการใช้ไฟฟ้า ในแต่ละช่วงเวลา ชนิดของเชื้อเพลิงที่ กฟผ. ได้พิจารณาเพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิง ในการผลิตไฟฟ้า ได้แก่ พลังน้ำน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ลิกไนต์ ถ่านหิน นิวเคลียร์ ออริมัลชั่น (Orimulsion) และการซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ยังมีพลังงานทดแทน ซึ่งได้แก่พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นต้น วิธีดำเนินการขั้นตอนการดำเนินงาน 1.วางเค้าโครง 2.ศึกษา ค้นคว้า หาข้อมูลเกี่ยวกับโครงงาน 3.ลงมือปฏิบัติการทำโครง 4.สรุปผล 5.นำเสนอ วัสดุอุปกรณ์ 1.กระดาษ 2.ปากกา 3. ดินสอ 4.คอมพิวเตอร์ 5.อินเตอร์เน็ต 6.หนังสือที่เกี่ยวข้อง 7.เฟลดไดร์ฟ 8.สมุด งบประมาณที่ใช้ 400 บาทสถานที่ดำเนินงาน ห้องสมุด ห้องอินเตอร์เน็ต โรงเรียน บ้าน ตารางการปฏิบัติงาน วันที่ การปฏิบัติงาน 30 ตุลาคม 2556 วางเค้าโครงโครงงาน 10-5 พฤศจิกายน 2556 ค้นคว้าหาข้อมูล เกี่ยวกับการทำโครงงาน 17-24 พฤศจิกายน 2556 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงงาน 26-30 พฤศจิกายน 2556 จัดทำเรียบเรียง เนื้อหาของโครงงาน 1-10 ธันวาคม 2556 ตรวจสอบ และประเมินผล 12-20 ธันวาคม 2556 สรุปผลการทำโครงงาน 25 ธันวาคม 2556 นำเสนอโครงงาน ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน 2.สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน 3.ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้พลังงาน บรรณานุกรม วินัย วีระวัฒนานนท์. (2542). พลังงานกับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพ: อักษรเจริญทัศน์.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มิถุนายน 2542 https://wiki.stjohn.ac.th/groups/poly_ordinarycourse1/wiki/dd3d9/ http://ployann.blogspot.com/2010/03/blog-post_03.html http://e-learning.e-tech.ac.th/learninghtml/7893/unit03.html https://wiki.stjohn.ac.th/groups/poly_ordinarycourse1/wiki/f7c37/ http://thatssthat.blogspot.com/2012/07/blog-post.html http://www.eppo.go.th/encon/encon-108-T.html http://www.baanjomyut.com/library_3/extension-3/alternative_energy/index.htm http://eep.cpportal.net/KnowledgeSharing/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/tabid/1029/articleType/ArticleView/articleId/320/.aspx